การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยกระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า
รหัสดีโอไอ
Title การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยกระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า
Creator กนกพร ทัญญะเชียงพิณ
Contributor พิชญ รัชฎาวงศ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม -- การกำจัดของเสีย, น้ำเสีย -- การบำบัด, ก๊าซชีวภาพ, อุตสาหกรรมก๊าซชีวภาพ, การรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า, Palm oil industry -- Waste disposal, Sewage -- Purification, Biogas, Biogas industry, Electrocoagulation
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบการผลิตก๊าซชีวภาพของน้ำเสียที่ผ่านการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้าและน้ำเสียที่ไม่ผ่านการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า โดยวิธีการบำบัดแบบไม้ใช้ออกซิเจน ด้วยวิธีBiochemical Methane Potential (BMP) ทำการทดลองโดยจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงที่ความหนาแน่น 0.02, 0.05 และ 0.1 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร โดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 5, 10 และ 15 นาที โดยใช้เหล็กเป็นขั้วอิเล็กโทรด ระยะห่างระหว่างขั้ว 2.5 เซนติเมตร มีพื้นที่ 65 ตารางเซนติเมตร โดยใช้น้ำเสียปริมาตร 400 มิลลิลิตร บรรจุในบีกเกอร์ขนาด 600 มิลลิลิตร ผลการทดลอง พบว่าที่ 0.05 แอมแปร์ ต่อตารางเซนติเมตร ที่เวลาในการทำปฏิกิริยา 5 นาที มีค่าซีโอดีละลายเฉลี่ย เท่ากับ 31,157±137 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกำจัดน้ำมันและไขมันได้ 94.00±0.17 เปอร์เซ็นต์ และ 0.1 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร มีค่าเฉลี่ยซีโอดีละลาย เท่ากับ 22,494.67±105 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกำจัดน้ำมันและไขมันได้ 98.42±0.42 ส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 19,730±204 ถึง 20,320± 374 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการเพิ่มค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าให้แก่ระบบจะเกิดความร้อนทำให้น้ำมันแตกตัวเป็นน้ำมันละลายได้ และสามารถเพิ่มฟองก๊าซไฮโดรเจนจากปฏิกิริยารีดักชันทำให้เกิดกำจัดน้ำมันและไขมันโดยติดไปกับฟองก๊าซและถูกแยกออกไปจากน้ำเสียได้ เนื่องจากน้ำมันและไขมันที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ที่แบคทีเรียย่อยสลายได้ยาก จึงส่งผลต่อกิจกรรมแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายน้ำมันละลายได้เร็วขึ้นและไม่เกิดการสะสมของกรดไขมันสายยาวในระบบ ส่งผลต่อปริมาณก๊าซชีวภาพและก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าที่ 0.05 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร ที่เวลาในการทำปฏิกิริยา 5 นาที มีปริมาณก๊าซชีวภาพสะสม 30 วัน เท่ากับ 24.02 มิลลิลิตร ต่อกรัมของแข็งระเหยที่เติม มีความเข้มข้นของก๊าซมีเทน 74.35 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 0.1 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร ที่เวลาในการทำปฏิกิริยา 5 นาที มีปริมาณก๊าซชีวภาพสะสม 30 วัน เท่ากับ 23.31 มิลลิลิตรต่อกรัมของแข็งระเหยที่เติม มีความเข้มข้นก๊าซมีเทน เท่ากับ 20.10 เปอร์เซ็นต์ส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านกระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้ามีปริมาณก๊าซชีวภาพสะสม 30 วัน เท่ากับ 11.33 มิลลิลิตรต่อกรัมของแข็งระเหยที่เติม มีความเข้มข้นของก๊าซมีเทน เท่ากับ 59.59 เปอร์เซ็นต์
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ