![]() |
สุนทรียภาพการดัดแปลงข้ามสื่อ จากวรรณกรรมเรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของ เหม เวชกร เป็นละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | สุนทรียภาพการดัดแปลงข้ามสื่อ จากวรรณกรรมเรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของ เหม เวชกร เป็นละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน |
Creator | กฤษณะ คุปตามร |
Contributor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เหม เวชกร, เรื่องสั้นไทย -- สุนทรียศาสตร์, ภาพเขียน -- สุนทรียศาสตร์, ละครโทรทัศน์, หนังสือชวนหัวกับเด็ก, Hem Vejakorn, Short stories, Thai -- Aesthetics, Painting -- Aesthetics, Television plays, Comic books and children |
Abstract | งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เอกลักษณ์ในบทประพันธ์เรื่องผีของเหม เวชกร และวิเคราะห์การดัดแปลงบทประพันธ์เรื่องผีของ เหม เวชกร เป็นละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเดิม(Convention) และสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ (Invention) ผลการวิจัยพบว่า เอกลักษณ์ในบทประพันธ์เรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของเหม เวชกร ได้แก่ การเล่าเรื่องผ่านภาพศิลปะแนวภูตผี (ภาพประกอบ) การเล่าเรื่องให้มีรส 3 มิติคือ รสกลัว รสรัก และรสเศร้าสะเทือนใจ มีกลวิธีการเล่าเรื่องให้มีความสมจริง และผสมผสานลักษณะความเป็นไทย ในด้านการดัดแปลงบทประพันธ์ไปยังสื่ออื่นพบว่า ผู้ผลิตตั้งใจที่จะนำเอกลักษณ์ต่างๆจากบทประพันธ์เรื่องผีของ เหม เวชกร มาคงองค์ประกอบการเล่าเรื่องไว้ และสร้างสรรค์ให้เป็นประดิษฐกรรมใหม่(Invention) เพื่อให้สูตรเรื่องเล่ามีการปรับตัวตามกาลเวลา โดยการขยายความ ตัดทอน และดัดแปลงเนื้อหา ซึ่งลักษณะการถ่ายโยงเนื้อหาจากวรรณกรรมเรื่องสั้นสู่ละครโทรทัศน์ พบว่า ทางผู้ผลิตตั้งใจจะคงรสและองค์ประกอบการเล่าเรื่องตามบทประพันธ์ตัวบทต้นทาง อันได้แก่ ภาพศิลปะแนวภูตผี โครงเรื่อง ฉากบรรยากาศ ตัวละคร แก่นเรื่อง สัญลักษณ์พิเศษ เอาไว้ให้มากที่สุดและเพิ่มรสแห่งความรักให้มีมิติมากยิ่งขึ้น ส่วนลักษณะการถ่ายโยงเนื้อหาจากวรรณกรรมเรื่องสั้นและละครโทรทัศน์สู่หนังสือการ์ตูน ทางผู้ผลิตตั้งใจที่จะคงภาพศิลปะแนวภูตผี ฉากบรรยากาศ ให้เป็นไปตามบทประพันธ์เดิม และดัดแปลงโครงเรื่องให้จบแบบหักมุม ดัดแปลงตัวละครให้มีลักษณะนิสัยที่ทะเล้น และเปลี่ยนรสแห่งบทประพันธ์จากความน่ากลัวให้เป็นรสแห่งความตลกและสนุกสนาน ตามธรรมชาติของสื่อการ์ตูนตลกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การ์ตูนจะต้องมีความเข้าใจง่าย(Simplified) บิดเบี้ยว(Distorted) เกินจริง(Exaggerated) และหักมุม(Twist Ending) ดังนั้น ลักษณะสัมพันธบทจากวรรณกรรมเรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของเหม เวชกร สู่ละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน จึงสอดคล้องกับหลักการถ่ายโยงเนื้อหาโดยทั่วไป ที่ผลงานสื่อจินตคดีในยุคหลังสมัยใหม่ในปัจจุบัน ล้วนรื้อฟื้นหรือดัดแปลงผลงานที่เคยสร้างมาแล้วในอดีตกลับมาทำใหม่อยู่เสมอ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |