![]() |
การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
Creator | เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์ |
Contributor | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา, วิจัย, วิทยาศาสตร์ -- วิจัย |
Abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาความร่วมมือด้านการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา 8 แห่ง ที่เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รวม 24 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 27 คน และคณาจารย์ บุคลากร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 332 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาร่างรูปแบบ และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ รวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สาระ ผลการวิจัยพบว่า สถาบันอุดมศึกษาขาดการสร้างความร่วมมือทำวิจัยบูรณาการ เพราะขาดเงินทุนทำวิจัย ขาดแคลนอุปกรณ์การทำวิจัยชั้นสูง และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ผู้บริหารไม่มีนโยบายสนับสนุนในการสร้างความร่วมมือวิจัยที่เป็นรูปธรรมชัดเจน องค์กรกลางสร้างความร่วมมือวิจัยที่ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือให้สำเร็จ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการสร้างความร่วมมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ เงินทุน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เครื่องมืออุปกรณ์ชั้นสูงที่มีราคาแพง องค์กรกลางสร้างความร่วมมือที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะทำให้งานวิจัยสำเร็จ รูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านการบริหารจัดการความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด คือ 1.1 จัดโครงสร้าง 1.2 นโยบาย, วิสัยทัศน์, พันธกิจ 1.3 การส่งเสริมความสามารถ 1.4 แนวทางสร้างความร่วมมือ 1.5 การประเมินผลและการตรวจสอบ 2. ด้านการจัดการทรัพยากรวิจัย ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ 2.1 บุคลากร 2.2 เครื่องมืออุปกรณ์ 2.3 เงิน 3. ด้านเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด คือ 3.1 เครือข่าย 3.2 ทวิภาี 3.3 ไตรภาคี 3.4 การทำบันทึกข้อตกลงสร้างความร่วมมือวิจัย (MoU) 4. ด้านความยั่งยืนของเครือข่ายประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ 4.1 การปรับวัฒนธรรม เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการให้ชัดเจนต่อเนื่อง, การให้อิสระในการคิดเรื่องที่สนใจ และให้นับว่างานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน, มีการจัดประชุมสัมมนาต่างสถาบันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ, ทีมวิจัยต้องมุ่งเป้าไปที่ความสำเร็จร่วมกัน, ต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และต้องยอมรับซึ่งกันและกัน 4.2 การให้รางวัลและแรงจูงใจ เช่น การให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นธรรม, การให้รางวัลแก่นักวิจัย, ให้ทุนวิจัย การยกย่องเชิดชูเกียรติ 4.3 การบริหารกลุ่ม เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มสมาชิก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเครือข่าย, มีการแบ่งปันทรัพยากรให้กับเครือข่าย, มีความพร้อมที่จะร่วมมือกันทำวิจัย, กำหนดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน, การบริหารจัดการที่ดี, การควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุด ประหยัดทั้งทรัพยากรและประหยัดเวลา |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |