![]() |
การแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันพืช ใช้แล้วบนแคลเซียมออกไซด์และ แมกนีเซียมออกไซด์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันพืช ใช้แล้วบนแคลเซียมออกไซด์และ แมกนีเซียมออกไซด์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง |
Creator | นิทัศน์ วงษ์สวัสดิ์ |
Contributor | ธราพงษ์ วิทิตศานต์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | น้ำมันพืช -- การนำกลับมาใช้ใหม่, ปูนขาว, แมกนีเซียมออกไซด์, เครื่องปฏิกรณ์, การแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา, Vegetable oils -- Recycling (Waste, etc.), Lime, Magnesium oxide, Catalytic cracking |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการแตกตัวของน้ำมันพืชใช้แล้วด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเบส ได้แก่ แคลเซียมออกไซด์ และ แมกนีเซียมออกไซด์ ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องขนาด 1,250 มิลลิลิตร ใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลื่ยนสารตั้งต้นไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วย อุณหภูมิ อัตราการไหลเข้าของสารตั้งต้น และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา โดยกระบวนการแตกตัวจะทำการศึกษาที่อุณหภูมิ 390-440 องศาเซลเซียส อัตราการไหลของสารตั้งต้น 2-5 กรัมต่อนาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1-5 โดยน้ำหนัก โดยนำผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้มาทดสอบปริมาณของน้ำมันชนิดเบาที่เกิดขึ้นด้วย Simulated Distillation Gas Chromatography (DGC) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด จากการคำนวณด้วยโปรแกรม design-expert พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการแตกตัวของน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้แคลเซียมออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา คือ อุณหภูมิ 424 องศาเซลเซียส อัตราการไหลเข้าของสารตั้งต้น 2.21 กรัมต่อนาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ให้ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เกิดจากการแตกตัวร้อยละ 32.26 โดยน้ำหนัก มีปริมาณแนฟทาและดีเซลร้อยละ 11.54 และ 9.96 ตามลำดับ ส่วนภาวะที่เหมาะสมในการแตกตัวของน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้แมกนีเซียมออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา คือ อุณหภูมิ 422 องศาเซลเซียส อัตราการไหลเข้าของสารตั้งต้น 2.9 กรัมต่อนาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ให้ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เกิดจากการแตกตัวร้อยละ 31.19 โดยน้ำหนัก มีปริมาณแนฟทาและดีเซลร้อยละ 12.16 และ 11.18 ตามลำดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |