![]() |
การดัดแปรพื้นผิวโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยด้วยเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การดัดแปรพื้นผิวโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยด้วยเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ |
Creator | ถนอม วงศ์พุทธรักษา |
Contributor | ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล, รัฐ พิชญางกูร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | วิศวกรรมเนื้อเยื่อ, เนื้อเยื่อสังเคราะห์, วัสดุเลียนแบบทางชีวภาพ, ไหม, เจลาติน, ไคโตแซน, Tissue engineering, Tissue scaffolds, Biomimetic materials, Silk, Gelatin, Chitosan |
Abstract | ศึกษาผลการคอนจูเกตสารผสมของเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ ในโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทย ที่มีต่อสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ในระดับห้องปฏิบัติการ โดยกำหนดอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของเจลาตินต่อไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ คือ 100/0, 90/10, 80/20 และ 70/30 และใช้สารละลายกลูตารัลดีไฮด์ในการเชื่อมขวาง จากผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างสัณฐานของโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยที่ถูกเตรียมด้วยวิธีการกำจัดเกลือออก มีพื้นผิวเรียบ และมีรูพรุนเชื่อมต่อกัน เมื่อนำโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยมาคอนจูเกตด้วยสารผสมเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ โดยใช้ความเข้มข้นของสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ 0.05, 0.1, 0.15 และ 0.2% โดยปริมาตร พบว่า เมื่อใช้ความเข้มข้นของสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ 0.1% สารผสมเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์จะถูกคอนจูเกตเข้าไปในโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทย ประมาณ 28%-29% ทำให้ค่าความหนานแน่นและค่ามอดูลัสของการกดของโครงเลี้ยงเซลล์เพิ่มขึ้น แต่ค่าความพรุนลดน้อยลง ผลการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกของหนูในโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทย ที่คอนจูเกตด้วยเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า เมื่ออัตราส่วนไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ใช้ในการคอนจูเกตในโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทยมากขึ้น ส่งผลให้เซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกได้ดีขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากปริมาณแอลคาไลน์ฟอสฟาเตส ปริมาณแคลเซียม และลักษณะของเซลล์ภายหลังการเพาะเลี้ยงเซลล์ในโครงเลี้ยงเซลล์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สารผสมเจลาตินและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ถูกคอนจูเกตภายในรูพรุนของโครงเลี้ยงเซลล์ไฟโบรอินไหมไทย สามารถช่วยกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกของหนูเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกได้ดี โดยเฉพาะที่อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของเจลาตินต่อไคโตโอลิโกแซคคาไรด์เป็น 70 ต่อ 30 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |