![]() |
การลดของเสียในกระบวนการพิมพ์พลาสติกโดยแนวทางซิกซ์ ซิกมา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การลดของเสียในกระบวนการพิมพ์พลาสติกโดยแนวทางซิกซ์ ซิกมา |
Creator | วิทยา เจนจิวัฒนกุล |
Contributor | ปารเมศ ชุติมา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ), การลดปริมาณของเสีย, พลาสติกในการพิมพ์, Six sigma (Quality control standard), Waste minimization, Plastics in printing |
Abstract | ในงานวิจัยนี้จะดำเนินการตามขั้นตอนตามระยะการทำงาน 5 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะการนิยามปัญหา ทำการหาปัญหาของโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งจะพบว่ากระบวนการพิมพ์พลาสติกเป็นภาคส่วนที่มีปริมาณของเสียสูงที่สุด มีจำนวนของเสียถึง 41,759 กิโลกรัม จากยอดการผลิต 357,486 กิโลกรัมในปี 2552 หรือคิดเป็น 11.68% 2) ระยะตรวจวัด จะเริ่มด้วยการทำการตรวจสอบระบบการวัดซึ่งได้ผลการตรวจสอบผ่านเกณฑ์การยอมรับ จากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลาจนได้ปัจจัยมา 20 ปัจจัย ทำการคัดกรองปัจจัยต่างๆ ด้วย Cause & Effect Matrix หลังจากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FMEA ทำให้เหลือปัจจัยอยู่ 3 ปัจจัย 3) ระยะของการวิเคราะห์ปัญหา ทำการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 3 ด้วยวิธีการทางสถิติ ทำให้สรุปได้ว่า ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเกิดของเสียอย่างแท้จริง 4)ระยะการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ ใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล ทำการทดลองซ้ำ 2 ครั้ง ทำให้ได้ค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย 5) ระยะการควบคุมกระบวนการ จะสร้างแนวทางในการควบคุมให้ปริมาณของเสียหลังการปรับปรุงอยู่ในระดับต่ำ หลังจากการปรับปรุงได้ทำการทดสอบกระบวนการเพื่อเปรียบเทียบก่อนปรับปรุงและหลังการปรับปรุง จะพบว่าภายหลังการปรับปรุงส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ของเสียลดลงเหลือ 1.53% เมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของเสียก่อนปรับปรุงซึ่งมีปริมาณ 11.68% เท่ากับว่าสามารถลดปริมาณของเสียได้ถึง 86.90% |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |