แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของหอศิลป์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของหอศิลป์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร
Creator ฐิตินันท์ เตชไกรชนะ
Contributor สมบัติ กาญจนกิจ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword หอศิลป์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- กรุงเทพฯ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, พิพิธภัณฑ์ศิลป์, Art museums -- Thailand -- Bangkok, Tourism -- Thailand -- Bangkok, Heritage tourism, Art museums
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของหอศิลป์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครโดยหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ศึกษาระดับปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คนจากหอศิลป์ทั้งหมด 8 แห่งๆละ 50 คน ประกอบด้วย 1) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2) หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร 3) พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป์ 4) หอศิลป์จามจุรี 5) หอศิลป์วชิราวุธ 6) หอศิลป์เพาะช่าง 7) หอศิลป์พีระศิลป์ อนุสรณ์ และ 8) หอศิลป์สวนดุสิต โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ถดถอยแบบพหุคูณที่มีระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ และอาชีพ ไม่มีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านการศึกษาและกิจกรรม และปัจจัยด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ มีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยส่งเสริมด้านบุคลากรอยู่ในระดับมาก(X̅ = 3.92) ด้านการศึกษาและกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.67) และด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.43) ส่วนความสนใจในภาพรวมของพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากร้อยละ 41.8 สรุปแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวมี 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร สร้างทักษะเพิ่มองค์ความรู้สร้างจิตสำนึกในด้านบริการแก่เจ้าหน้าที่ จัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับหัวหน้าหน่วยงานของหอศิลป์ 2) ด้านการศึกษาและกิจกรรมสนับสนุนด้านกิจกรรมพัฒนาความรู้ศิลปะส่งเสริมนักเรียนที่มีความถนัดเข้าค่ายศิลปะอย่างสม่ำเสมอ ควรจัดหาทุนวิจัยด้านศิลปะ 3) ด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ผ่านภาคีที่เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหอศิลป์เอกชนและรัฐบาล จัดทำสื่อเว็บไซต์แต่ละหอศิลป์จัดทำวารสารการบริการข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่นักท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น 4) ด้านนโยบายและบริการอื่นมีการตรวจสอบ ปรับปรุง หอศิลป์ให้คงคุณภาพมาตรฐาน การรักษาสภาพชิ้นผลงานศิลปะอย่างถูกวิธี ผู้บริหารควรมีนโยบายเชิงรุกเพิ่มสัดส่วนผู้เข้าชม จัดหารายได้เพิ่มจากกิจกรรมขยายแหล่งเงินทุนนอกเหนือจากงบประมาณที่ได้รับจากภาครัฐ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ