ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับและต้านออกซิเดชันของว่านพญาวานร (Pseuderanthemum palatiferum) ต่อความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเซลล์ HepG2
รหัสดีโอไอ
Title ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับและต้านออกซิเดชันของว่านพญาวานร (Pseuderanthemum palatiferum) ต่อความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเซลล์ HepG2
Creator สุภาภรณ์ อุดมทรัพย์
Contributor สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, สุรีย์ เจียรณ์มงคล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สารสกัดจากพืช, ว่านพญาวานร, ภาวะเครียดออกซิเดชัน, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์, แอนติออกซิแดนท์, เซลล์ตับ, Plant extracts, Acanthaceae, Oxidative stress, Hydrogen peroxide, Antioxidants, Liver cells
Abstract ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากว่านพญาวานร ในการต้านออกซิเดชันและปกป้องเซลล์ตับ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันด้วย hydrogen peroxide (H₂O₂) โดยศึกษาในเซลล์ HepG2 ร่วมกับการวิเคราะห์ส่วนประกอบของสารสกัด ผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากว่านพญาวานรประกอบด้วยสารประกอบฟีนอลและสารประกอบฟลาโวนอยด์ ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี 1,1- diphenyl-2-picrylhydrazyl radicals (DPPH) assay, ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay และ H₂O₂ scavenging assay พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันน้อยกว่าวิตามินซี ผลการศึกษาฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับ เมื่อให้สารสกัดที่ความเข้มข้น 1, 5, 10, 25 และ 50 µg/mL ร่วมกับ H₂O₂ 100 µM แก่เซลล์ HepG2 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์ด้วยวิธี MTT (3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyl tetrazolium bromide) assay วัดปฏิกิริยา lipid peroxidation และความเป็นพิษต่อเซลล์โดยการวัดระดับ malondialdehyde (MDA) และ LDH (lactate dehydrogenase) ตามลำดับ รวมทั้งวัดปริมาณของ reactive oxygen species (ROS) ภายในเซลล์ โดยใช้สาร 2',7'-dichlorofluorescein diacetate (DCFH-DA) และวัดระดับของ glutathione (GSH) พบว่าสารสกัดทุกความเข้มข้น โดยเฉพาะที่ความเข้มข้น 1, 5 และ 10 µg/mL มีผลทำให้ระดับ ROS ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการรอดชีวิตของเซลล์ (MTT assay) และระดับเอนไซม์ LDH รวมทั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation และระดับ GSH ของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดและกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองดังกล่าวสรุปได้ว่า สารสกัดจากว่านพญาวานรมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้น้อยมาก จึงไม่มีผลในการปกป้องเซลล์ตับที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันด้วย H₂O₂
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ