การปรับปรุงคุณภาพกระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้าเคมีของการผลิตวงจรไฟฟ้ารวม
รหัสดีโอไอ
Title การปรับปรุงคุณภาพกระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้าเคมีของการผลิตวงจรไฟฟ้ารวม
Creator วิลันดา เริงโรจน์สรากุล
Contributor ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การควบคุมกระบวนการผลิต, แผงวงจรไฟฟ้า, อุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้า, การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า, Process control, Integrated circuits, Integrated circuits industry, Electroplating
Abstract ศึกษากระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้าเคมีของการผลิตวงจรไฟฟ้ารวม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณของเสีย และปรับปรุงมาตรฐานในการควบคุมกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า ของเสียหลักที่เกิดขึ้นในกระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้าเคมี ได้แก่ ของเสียประเภทเนื้อเพลตเป็นเสี้ยนหรือเศษโลหะส่วนเกิน ชิ้นงานมีค่าความหนาไม่ได้ตามที่กำหนด และของเสียที่ไม่ผ่านการทดสอบ Solderability test โดยการศึกษาวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษากระบวนการและระดมสมอง เพื่อระบุปัจจัยทางคุณภาพของกระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้าเคมี มีการประยุกต์ใช้ผังก้างปลา การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพ (FMEA) และการทบทวนการศึกษาออกแบบการทดลอง (DOE) โดยผลการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบว่า สาเหตุหลักในการเกิดข้อบกพร่องทางคุณภาพส่วนมาก เกิดจากสิ่งปนเปื้อนในสารเคมี การกำหนดขั้นตอนการทำงานของพนักงานและการตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องจักรไม่เหมาะสม และการกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการผลิตไม่เหมาะสมกับลักษณะของชิ้นงาน จึงได้มีการกำหนดแนวทางการแก้ไข ซึ่งหลังดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการพบว่า (1) สัดส่วนร้อยละของล็อตที่ตรวจพบปัญหาของเสียประเภทเศษโลหะส่วนเกิน ลดลงจากเดิม 46% เป็น 5% (2) สัดส่วนร้อยละของล็อตที่ตรวจพบปัญหาชิ้นงานที่มีค่าความหนาชั้นดีบุกไม่ได้ตามที่กำหนด ลดลงจากเดิม 0.3% เป็น 0.05% (3) ไม่เกิดของเสียประเภทที่ไม่ผ่านการทดสอบ Solderability test นอกจากนี้ จากผลการปรับปรุงมาตรฐานการควบคุมกระบวนการ เช่น การปรับปรุงการใช้ระบบการควบคุมกระบวนการทางสถิติ และการปรับปรุงมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถควบคุมของเสียดังกล่าวให้อยู่ในอัตราที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่อง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ