![]() |
การดูดซับแลนทาไนด์ไนเตรดด้วยถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวที่ดูดซับไตรบิวทิลฟอสเฟต |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การดูดซับแลนทาไนด์ไนเตรดด้วยถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวที่ดูดซับไตรบิวทิลฟอสเฟต |
Creator | ภาสวร ธรรมสัจจกูล |
Contributor | เดชา ฉัตรศิริเวช |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | โลหะหายาก, การดูดซับ, การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย, คาร์บอนกัมมันต์, Rare earth metals, Adsorption, Solvent extraction, Carbon, Activated |
Abstract | ถ่านกัมมันต์ที่สังเคราะห์จากกะลามะพร้าวถูกดูดซับด้วยไตรบิวทิลฟอสเฟตเป็นเวลา 60 นาที จากนั้นนำไปอบที่อุณหภูมิ 343 เคลวิน เป็นเวลา 60 นาที จากนั้นนำตัวดูดซับที่เตรียมไว้สู่กระบวนการดูดซับแลนทาไนด์ไนเตรดที่มีความเข้มข้นอยู่ระหว่าง 30-600 กรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ในช่วงเวลาการดูดซับตั้งแต่ 10 ถึง 60 นาที โดยปริมาณดูดซับแลนทาไนด์ไนเตรดที่ถูกดูดซับไว้ด้วยตัวดูดซับ วัดได้จากการคายกลับแลนทาไนด์ไนเตรดด้วยกรดไนตริก 0.05 โมลาร์ ทั้งยังนำตัวดูดซับที่ผ่านการดูดซับและคายกลับแล้ว นำกลับมาดูดซับใหม่เป็นวัฏจักร ถ่านกัมมันต์สามารถดูดซับไตรบิวทิลฟอสเฟตได้ 640 มิลลิกรัม/กรัมถ่าน โดยการดูดซับแลนทาไนด์ไนเตรดด้วยถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวที่ดูดซับไตรบิวทิลฟอสเฟต สามารถเข้าสู่สมดุลภายใน 10 นาที มีค่าปริมาณดูดซับแลนทาไนด์ไนเตรดจำเพาะที่ 65 มิลลิกรัม/กรัมถ่าน โดยค่าปริมาณการดูดซับจำเพาะแตกต่างกันขึ้นกับอัตราส่วนของปริมาณตัวดูดซับต่อสารละลาย 50-500 กรัม/ลิตร และที่ความเข้มข้นต่างกันใช้อัตราส่วนตัวดูดซับต่อสารละลายเท่ากันคือ 100 กรัม/ลิตร ตลอดจนการนำตัวดูดซับที่ยังคงมีไตรบิวทิลฟอสเฟตอยู่ภายในกลับมาใช้ใหม่ พบว่าการดูดซับถึงสภาวะคงตัวที่วัฏจักรการดูดซับรอบที่ 5 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |