ผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบกระตุกและแบบกระตุ้นระบบประสาทต่อความสามารถในการกระโดดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังของนักกีฬาที่มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น
รหัสดีโอไอ
Title ผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบกระตุกและแบบกระตุ้นระบบประสาทต่อความสามารถในการกระโดดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังของนักกีฬาที่มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น
Creator ศิริขวัญ เฮงธารากูล
Contributor พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์, วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword กล้ามเนื้อ, ขา -- กล้ามเนื้อ, กำลังกล้ามเนื้อ, การยืดเหยียด, Muscles, Leg -- Muscles, Stretch (Physiology)
Abstract วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาทและแบบกระตุกต่อความสามารถในการกระโดดและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง หลังจากได้รับโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในนักกีฬาที่มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น วิธีดำเนินการ: อาสาสมัครเป็นนักกีฬาเพศชายอายุ 18-30 ปี มีภาวะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหดสั้น จำนวน 48 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท 16 คน กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุก 16 คน และกลุ่มควบคุม(ยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้าง) 16 คน ระยะเวลาในการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งสามกลุ่มจะได้รับการวัดค่าพีคทอร์คของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง แบบ concentric และ eccentric, ความสามารถในการกระโดด, มุมองศาการเหยียดเข่า ก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการฝึก ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 48 คน เข้าร่วมการศึกษาครบ 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสามกลุ่ม กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท ,กลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุก และกลุ่มควบคุม (ยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้าง) มีค่าความสามารถในการกระโดด ค่าพีคทอร์คของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่า ค่ามุมองศาการเหยียดเข่า เพิ่มขึ้นทั้งสามกลุ่ม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้ ANCOVA พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของความสามารถในการกระโดดเมื่อวัดผลทันทีหลังการยืดกล้ามเนื้อ แต่หลังจากเสร็จสิ้นโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อ 4 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของค่าความสามารถในการกระโดด ,มุมองศาการเหยียดเข่า, ค่าพีคทอร์คของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่าแบบ eccentric ระหว่างกลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท แบบกระตุก และแบบคงค้าง สรุปผลการวิจัย: หลังโปรแกรมการยืดกล้ามเนื้อครบ 4 สัปดาห์ การยืดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท แบบกระตุก และแบบคงค้าง ไม่แตกต่างกันทั้งสามกลุ่ม ทุกกลุ่มสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายทั้งในด้านความสามารถในการกระโดด มุมองศาการเหยียดเข่า และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นนักกีฬาสามารถเลือกเทคนิคการยืดกล้ามเนื้อได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ