กระบวนการบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ
รหัสดีโอไอ
Title กระบวนการบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ
Creator ลลิตา เจียมวัฒนศิริกิจ
Contributor ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สถานทูต -- ไทย, สถานทูต -- ไทย -- การออกแบบและการสร้าง, การก่อสร้าง -- การจัดการ, การก่อสร้าง -- ไทย -- การจัดการ, อาคารสาธารณะ -- ไทย, อาคารสาธารณะ -- ไทย -- การออกแบบและการสร้าง, Embassy buildings -- Thailand, Embassy buildings -- Thailand -- Design and construction, Building -- Management, Building -- Thailand -- Management, Public buildings -- Thailand, Public buildings -- Thailand -- Design and construction
Abstract การออกแบบก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นอาคารทางราชการตั้งอยู่ภายนอกประเทศไทยนั้น ต้องใช้วิธีการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้โครงการไม่ได้รับการควบคุมจัดการอย่างเป็นระบบชัดเจนเหมือนกับอาคารราชการในประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่ามีโครงการก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศที่กำลังดำเนินโครงการอยู่ในปัจจุบันประสบปัญหาโครงการล่าช้าการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินโครงการออกแบบและก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตในปัจจุบัน ตั้งแต่ช่วงการริเริ่มโครงการ ไปจนถึงการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัย คือ ศึกษาทฤษฎีการบริหารโครงการสถาปัตยกรรม และศึกษากระบวนการจากกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศที่มีการดำเนินโครงการภายในช่วงระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการในปัจจุบัน ได้แก่ 1) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศจีน 2) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอินเดีย 3) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศปากีสถาน 4) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่น โดยสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงต่างประเทศ และผู้ออกแบบโครงการผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการนั้นเริ่มต้นด้วยการเสนอของสถานเอกอัครราชทูต หรือแผนของกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ แล้วจึงขออนุมัติงบประมาณ หลังจากนั้นสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สินจะจัดจ้างผู้ออกแบบไทยด้วยค่าบริการวิชาชีพที่ต่างจากระเบียบพัสดุของงานราชการที่ออกแบบในประเทศไทยกำหนดไว้ แล้วจึงเข้าสู่ช่วงการออกแบบ การขออนุญาตก่อสร้าง และการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นการทำสัญญาในต่างประเทศระหว่างสถานเอกอัครราชทูตกับผู้รับจ้าง ซึ่งผู้ออกแบบไทยจะมีหน้าที่ในการช่วยพิจารณาผู้รับเหมา เมื่อจัดจ้างเสร็จจะถือว่าภาระงานผู้ออกแบบไทยสิ้นสุดลงและส่งมอบภาระไปยังผู้ควบคุมงาน แต่โดยมากมักเป็นรายเดียวกับผู้ออกแบบ ปัญหาที่พบในขั้นตอนการดำเนินโครงการ คือ ระหว่างช่วงการออกแบบ มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการพื้นที่ใช้สอย เกิดการแก้ไขแบบหลายครั้ง ผู้ออกแบบไทยต้องประสานงานแก้ไขไปยังผู้ออกแบบท้องถิ่น ทำให้เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ ช่วงขออนุญาตก่อสร้าง ระเบียบข้อบังคับในการขออนุญาตก่อสร้างของแต่ละท้องถิ่น และการแก้ไขแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดปัญหาความติดขัดล่าช้าในการได้รับใบอนุญาตก่อสร้างการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ได้แก่ 1) การจัดจ้างที่ปรึกษาโครงการหรือผู้บริหารโครงการ เพื่อเป็นตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินโครงการ ศึกษาโครงการ ประสานงานและกำหนดระยะเวลาโครงการอย่างชัดเจน ทำให้โครงการดำเนินได้อย่างเป็นระบบ 2) ควรมีแผนงานบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ และการเตรียมข้อมูลที่จำเป็นตั้งแต่เริ่มโครงการ 3) การทบทวนสัญญาออกแบบ โดยควรมีการระบุขอบเขตงานและค่าใช้จ่ายที่เรียกเพิ่มเติมได้ ลงในสัญญาให้ชัดเจน 4) การจัดให้มีคณะกรรมการกำกับแบบที่จะอนุมัติรูปแบบอาคารตั้งแต่ช่วงการออกแบบร่างและไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นในระหว่างการออกแบบ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ