![]() |
การสร้างฉันทามติเพื่อการถือครองที่ดินแบบโฉนดชุมชนในที่ดินกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล : กรณีศึกษา ชุมชนคลองโยง จังหวัดนครปฐม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสร้างฉันทามติเพื่อการถือครองที่ดินแบบโฉนดชุมชนในที่ดินกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล : กรณีศึกษา ชุมชนคลองโยง จังหวัดนครปฐม |
Creator | ปิยะนาถ วชิรบัณฑูร |
Contributor | อภิวัฒน์ รัตนวราหะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | สิทธิชุมชน, ชุมชน -- ไทย -- นครปฐม, ฉันทามติ -- ไทย -- นครปฐม, การถือครองที่ดิน, กรรมสิทธิ์ที่ดิน, โฉนด, Communities -- Thailand -- Nakhon Pathom, Consensus (Social sciences) -- Thailand -- Nakhon Pathom, Land tenure, Land titles, Deeds |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการที่ทำให้ชุมชนคลองโยงได้มาซึ่งโฉนดชุมชนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เหตุผลที่สมาชิกในชุมชนเลือกถือครองที่ดินแบบโฉนดชุมชน แทนการเลือกการถือครองที่ดินแบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล อีกทั้งประเมินปัจจัยที่นำไปสู่ฉันทามติในการเลือกถือครองที่ดินแบบโฉนดชุมชน โดยศึกษาผ่านชุมชนคลองโยง จังหวัดนครปฐม ซึ่งปัจจุบันเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนที่ดินเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับโฉนดชุมชน และยังเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ตั้งอยู่ใกล้เขตเมือง กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ศึกษา ได้แก่ กระบวนการสร้างฉันทามติ (Consensus Building) แนวคิดการถือครองที่ดินแบบกรรมสิทธิ์ร่วม แนวคิดสิทธิชุมชน แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน การรวมกลุ่มและการบริหารชุมชนแบบสหกรณ์ แนวคิดและที่มาของโฉนดชุมชน กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องและตัวอย่างการจัดการที่ดินโดยชุมชน วิธีวิจัยจะใช้การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและเอกสารสำคัญเพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงที่มากระบวนการที่แท้จริง และทำแบบสอบถาม โดยมีหน่วยวิเคราะห์เป็นครัวเรือนเพื่อสอบถามถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการที่ทำให้เกิดโฉนดชุมชน ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ชุมชนที่ตั้งอยู่บนที่ดินของเอกชนได้รับการพิจารณาให้ได้รับโฉนดชุมชนมากกว่าที่ดินของรัฐที่มีการเรียกร้องมากกว่า 400 ชุมชน เพราะชุมชนคลองโยงไม่มีความขัดแย้งมากนัก ไม่ต้องการงบประมาณสนับสนุน ซึ่งต่างจากกรณีอื่นๆ เช่น การบุกรุกที่ดินของรัฐที่ป่า หรืออุทยานแห่งชาติที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ชุมชนแห่งนี้ยังมีความเป็นมาที่ชัดเจน มีรูปธรรมชัดคือเป็นชุมชนเกษตรกรรม และรัฐบาลต้องการใช้ชุมชนคลองโยงเป็นสื่อประชาสัมพันธ์นโยบายว่าสามารถทำได้จริงและเป็นรูปธรรม แม้ว่ากรรมสิทธิ์ร่วมในรูปแบบโฉนดชุมชนจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นไม่สามารถขายที่ดินได้ ไม่สามารถนำที่ดินไปเป็นหลักประกันเพื่อกู้ยืมกับสถาบันทางการเงิน ต้องตกทอดให้ลูกหลานเท่านั้น แต่ชุมชนคลองโยงก็ยืนหยัดที่จะเคลื่อนไหวและเรียกร้องเพื่อให้ได้สิทธิดังกล่าวมา จนท้ายที่สุดก็สามารถตัดสินใจร่วมกันผ่านกระบวนการเรียนรู้และก้าวข้ามการแสวงหามติด้วยเสียงข้างมาก แสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่ชัดเจนของชุมชนที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการสร้างฉันทามติเพื่อการถือครองที่ดินแบบโฉนดชุมชนขึ้นในชุมชนคลองโยง จังหวัดนครปฐมแห่งนี้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |