![]() |
การพัฒนารูปแบบเครือข่ายสังคมเชิงเสมือนสำหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรมเพื่อการสร้างความรู้และความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบเครือข่ายสังคมเชิงเสมือนสำหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรมเพื่อการสร้างความรู้และความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา |
Creator | โอภาส เกาไศยาภรณ์ |
Contributor | จินตวีร์ คล้ายสังข์, ใจทิพย์ ณ สงขลา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, การเรียนการสอนผ่านเว็บ, การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม, การสังสรรค์ทางวัฒนธรรม, เครือข่ายสังคม, Web-based instruction, Acculturation, Social networks |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายสังคมเชิงเสมือนสําหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรมเพื่อการสร้างความรู้และความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม สําหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารและอาจารย์ที่สอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งสิ้น 153 คน และนิสิตนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 21 คน โดยผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบเครือข่ายสังคมเชิงเสมือนสําหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรมเพื่อการสร้างความรู้และความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม สําหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายสังคมพหุวัฒนธรรม 2) กระบวนการในการสร้างความรู้และการติดตามพฤติกรรมของผู้เรียน 3) ฐานการช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนบนเครือข่ายสังคมเชิงเสมือน 4) การเสริมสร้าง/การจัดการเครือข่ายบนเครือข่ายสังคมเชิงเสมือน 5) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม 6) ระบบการบริหารและการจัดการบนเครือข่ายสังคมเชิงเสมือน 7) การเสริมแรงในด้านพฤติกรรมของผู้เรียน 8) การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนบนเครือข่ายสังคมเชิงเสมือน 9) การยอมรับและการอยู่ร่วมกันของผู้เรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมบนเครือข่ายสังคมเชิงเสมือน 10) เครื่องมือที่ใช้สำหรับการสะท้อนความรู้ของผู้เรียน และ 11) เครื่องมือที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารบนสังคมเชิงเสมือน 2. รูปแบบเครือข่ายสังคมเชิงเสมือนฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนด้านการเตรียมความพร้อมของห้องเรียนบนเครือข่ายสังคมเชิงเสมือน 2) ขั้นตอนด้านการสร้างความคุ้นเคย 3) ขั้นตอนด้านการสร้างความรู้ ปรับสมดุลความคิดและการตระหนักรู้ 4) ขั้นตอนด้านการวัดและการประเมินผล โดยมีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) บุคคล (ผู้สอน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เรียน) 2) สื่อการเรียนการสอน (สื่อการเรียนการสอนสำหรับให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาในรายวิชาและสื่อการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม) 3) ห้องเรียน (ห้องเรียนแบบปกติและห้องเรียนแบบออนไลน์) 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างความรู้และคะแนนเฉลี่ยความตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |