![]() |
กลยุทธ์และประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | กลยุทธ์และประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
Creator | ณัฐินี สืบจากยง |
Contributor | พัชนี เชยจรรยา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ, อุตสาหกรรม -- แง่สังคม, นิคมอุตสาหกรรม -- ไทย -- แง่สังคม, Social responsibility of business, Industries -- Social aspects, Industrial districts -- Thailand -- Social aspects |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสาร บทความ และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง “ประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม 4 นิคมอุตสาหกรรมและพนักงานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 400 คน ผลการวิจัยในส่วนของกลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ออกเป็น 5 กลยุทธ์ (1) กลยุทธ์การใช้สื่อที่หลากหลาย (2) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายสื่อบุคคล (3) กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์อันดี (4) กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วม (5) กลยุทธ์การสร้างสรรค์กิจกรรมและโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการศึกษาในส่วนของประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ การยอมรับและภาพลักษณ์ พบว่า (1) ชุมชนและพนักงานมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมและโครงการด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. ผ่านสื่อต่างๆอยู่ในระดับปานกลาง โดยรับรู้จากสื่อบุคคลมากที่สุด (2) ชุมชนและพนักงานรู้จักและจำได้ต่อกิจกรรมและโครงการด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. ในระดับปานกลาง โดยรู้จักโครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดและลดอาชญากรรมมากที่สุด (3) ชุมชนและพนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อ กนอ. และกิจกรรมด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ (4) ชุมชนและพนักงานมีการยอมรับ กนอ. อยู่ในระดับปานกลาง โดยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในท้องถิ่นมากที่สุด (5) ชุมชนและพนักงานมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของ กนอ. อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมองว่า กนอ. เป็นองค์กรที่สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ (6) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อ กนอ. ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่ำมากถึงต่ำ แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (7) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กนอ. ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่ำมากถึงปานกลาง แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (8) ทัศนคติของพนักงานและชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กนอ. ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (9) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์ของ กนอ. ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่ำมากถึงต่ำ แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |