อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี
รหัสดีโอไอ
Title อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี
Creator ลำพอง กลมกูล
Contributor ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ, นงลักษณ์ วิรัชชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, Critical thinking
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสะท้อนคิดและการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดที่มีต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจากกรณีศึกษาที่ดี 3) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่แสดงอิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดที่มีต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีตัวแปรส่งผ่าน และ 4) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น และศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดล วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธีที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย โรงเรียนและครูจากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ใช้การเลือกแบบเจาะจงได้โรงเรียน 4 โรงเรียน และครู 7 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้การสุ่มสองขั้นตอนได้โรงเรียน 24 โรงเรียน และครู 720 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์แบบลึก และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลแบบมีตัวแปรส่งผ่าน และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการสะท้อนคิดที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมี 6 ขั้นตอน รู้ว่าทำอะไร – แก้ไขและปรับเปลี่ยน – เรียนรู้จากการทำ – นำสู่ความเข้าใจใหม่ – คิดให้เป็นนวัตกรรม – และทดลองทำตามที่คิด ปัจจัยที่เอื้อต่อการสะท้อนคิด ได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะนักวิจัย ปัจจัยพื้นฐานการสะท้อนคิด ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านงานการสะท้อนคิด ส่วนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ประกอบด้วย ก) การวางแผนอย่างชัดเจน ข) การปฏิบัติการวิจัยอย่างมั่นใจ ค) การสะท้อนผลการวิจัยกับผู้อื่น ง) การมีนิสัยที่เอื้อต่อการวิจัย และ จ) การมีความรู้ในการวิจัยเป็นอย่างดี 2) ผลการศึกษาจากกรณีศึกษาที่ดี พบว่า อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีทั้งอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมส่งผ่านผลลัพธ์จากการสะท้อนคิด ซึ่งวัดได้จากความรู้ความเข้าใจกระบวนการทำวิจัย การยอมรับกระบวนการสะท้อนคิด และทัศนคติต่อการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรภายนอกแฝง 4 ตัวแปร ตัวแปรภายในแฝง 3 ตัวแปร โดยมีตัวแปรผลลัพธ์จากการสะท้อนคิดเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลจากกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 4) ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนา โมเดล 1 และ 2 เมื่อไม่มีและมีการควบคุมตัวแปรปัจจัยที่เอื้อต่อการสะท้อนคิดเปรียบเทียบกัน แม้ว่าทั้ง 2 โมเดลมีความตรงเท่าเทียมกัน แต่ขนาดอิทธิพลค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งกรรมการสอบเห็นว่าโมเดลที่ 2 อาจจะมีปัญหาภาวะร่วมเส้นตรงพหุ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงปรับเป็นโมเดลที่ 3 โดยรวมองค์ประกอบของปัจจัยที่เอื้อต่อการสะท้อนคิด ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า โมเดลที่ 3 มีความตรงเท่าเทียมกับ 2 โมเดลแรก และมีขนาดอิทธิพลใกล้เคียงกับโมเดลที่ 1 ในที่นี้ผู้วิจัยจึงเสนอผลการวิเคราะห์โมเดลที่ 1 และ 3 ได้ค่าไค-สแควร์ = 37.91 และ 221.41; df = 31 และ 193; p = .183 และ .079; GFI = .991 และ .979; AGFI = .978 และ .953 อธิบายความแปรปรวนของผลลัพธ์จากการสะท้อนคิดได้ร้อยละ 43.4 และ 40.4 และประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ร้อยละ 84.7 และ 88.2 ตามลำดับ และอิทธิพลจากกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านผลลัพธ์จากการสะท้อนคิดมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง = .076 และ .109 และอิทธิพลทางอ้อม = .572 และ .725 ตามลำดับ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ