ปริมาณน้ำมันปลาทูน่า และแอสตาแซนทินที่เหมาะสมในอาหารต่อการเติบโต และอัตรารอดของหอยหวาน Babylonia areolata ระยะวัยรุ่น
รหัสดีโอไอ
Title ปริมาณน้ำมันปลาทูน่า และแอสตาแซนทินที่เหมาะสมในอาหารต่อการเติบโต และอัตรารอดของหอยหวาน Babylonia areolata ระยะวัยรุ่น
Creator เดือนนภา เอ่งฉ้วน
Contributor สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล, นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธิ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword น้ำมันปลาทูน่า, แอสตาแซนทิน, หอยหวาน, หอยหวาน -- การเลี้ยง, หอยหวาน -- การเจริญเติบโต, Babylonia areolata, Babylonia areolata -- Growth
Abstract ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของน้ำมันปลาทูน่า และแอสตาแซนทินในการเลี้ยงหอยหวาน Babylonia areolata ระยะวัยรุ่น เพื่อการเติบโต และอัตรารอดสูงสุด โดยใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีสัดส่วนน้ำมันปลาทูน่า (TO) 4 ระดับคือ 7, 5, 3 และ 1 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม และมีแอสตาแซนทิน (AS) 4 ระดับ คือ 0, 100, 200 และ 500 ส่วนในล้านส่วน รวม 16 สูตรอาหาร ทดลองเลี้ยงหอยหวานระยะวัยรุ่นในระบบหมุนเวียนน้ำแบบกึ่งปิด โดย ใช้หอยขนาดความยาวเปลือกเริ่มต้นเฉลี่ย 0.5±0.01 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัวต่อหน่วยทดลอง หน่วยทดลองละ 3 ซ้ำ เป็นเวลา 120 วัน ในตะกร้าขนาด 16x14x19 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการศึกษาพบว่า เมื่อทดลองครบ 120 วัน ลูกหอยที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 2 (TO7:AS100) ซึ่งมีปริมาณน้ำมันปลาทูน่า 7 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม และ ระดับแอสตาแซนทิน 100 ส่วนในล้านส่วน มีการเติบโตโดยความยาวเปลือก และการเติบโตโดยน้ำหนักสูงกว่า อาหารทดลองสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และมีอัตราการเติบโตจำเพาะ (SGR) และอัตราการ เปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ดีที่สุด โดยอาหารทุกสูตรเมื่อสิ้นสุดการศึกษาให้อัตราการรอดตาย 100 เปอร์เซ็นต์ พบระดับแอสตาแซนทินในเนื้อหอยหวานหลังทดลองให้อาหารทั้ง 16 สูตร เพิ่มขึ้นตามระดับความเข้มข้นที่ เพิ่มขึ้นในอาหาร
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ