![]() |
ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Creator | สมบูรณ์ รัตนบุญศรีทอง |
Contributor | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | ความคิดรวบยอด, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ทฤษฎีสรรคนิยม, การเรียนรู้แบบประสบการณ์, Concepts, Critical thinking, Chemistry -- Study and teaching (Secondary), Constructivism (Education), Experiential learning |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียน ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ 3) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียน ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่าง 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI และกลุ่มเปรียบเทียบซึ่งเรียนวิทยาศาสตร์โดยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีและแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่มีค่าความเที่ยง 0.85 และ 0.78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการทดลอง สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |