การนำเสนอแบบและกลยุทธ์การพัฒนาสันติพิสัยของนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาบัณฑิต
รหัสดีโอไอ
Title การนำเสนอแบบและกลยุทธ์การพัฒนาสันติพิสัยของนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาบัณฑิต
Creator ศิระ อุดมรัตน์
Contributor พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศิริเดช สุชีวะ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword สันติพิสัย, สันติภาพ, สันติศึกษา, นักศึกษา -- ไทย, บุคลิกภาพ, Peace of mind, Peace, Peace education, Students -- Thailand, Personality
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสันติพิสัยในนิสิตนักศึกษาไทย 2) นำเสนอแบบสันติพิสัยสำหรับนิสิตนักศึกษาไทย 3) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาสันติพิสัยในนิสิตนักศึกษาไทย โดยศึกษาข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสันติแล้ว ศึกษาเชิงปริมาณการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษา จำนวน 1,600 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉากด้วยวิธีวารีแมกซ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคุณลักษณะทางสันติพิสัยของนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาบัณฑิต วิเคราะห์ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในตามสูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ตั้งชื่อแบบสันติพิสัยและพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสันติพิสัยของนิสิตนักศึกษาไทย จากการวิเคราะห์ SWOT analysis ด้วยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ Connoisseurship ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพสันติพิสัย พบว่า 1.1 นิสิตนักศึกษาได้รับความรู้เรื่องสันติอย่างต่อเนื่องโดยจะได้รับความรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด 45.81% รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา และน้อยที่สุดคือระดับอุดมศึกษา 7.5% 1.2 เมื่อนิสิตนักศึกษามีปัญหาความขัดแย้งจะปรึกษาเพื่อนมากที่สุด 78.81% รองลงมาเป็นบิดา-มารดา 64.56% ครู-อาจารย์ 37.00% และไม่ปรึกษาใครเลย 9.4% 2. แบบสันติพิสัย จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ 8 แบบคือ 1) ผู้เข้าใจและเห็นคุณค่าของคน 2) ผู้มองโลกเชิงบวก 3) ผู้เมตตา 4) ผู้รณรงค์ 5) ผู้อดกลั้น 6) ผู้คิดวิเคราะห์ 7) ผู้ประสานไมตรี และ 8) ผู้สร้างสัมพันธภาพ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพสันติพิสัยตามตัวแปรกับแบบสันติพิสัยพบว่า ตัวแปรทั้ง 5 คือ เพศ ภูมิภาค ประเภทสถาบัน กลุ่มสาขาวิชา และชั้นปีการศึกษา มีผลต่อระดับสันติพิสัยทั้ง 8 แบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งโดยรวมเพศหญิงมีระดับสันติพิสัยสูงกว่าเพศชาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับสันติพิสัยรวมสูงสุด ภาคเหนือมีระดับสันติพิสัยรวมต่ำสุด โดยรวมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีระดับสันติพิสัยสูงกว่าสถาบันอุดมศึกษารัฐบาล กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มีระดับสันติพิสัยรวมสูงที่สุด กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีระดับสันติพิสัยรวมต่ำที่สุด นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีระดับสันติพิสัยรวมสูงที่สุด นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีระดับสันติพิสัยรวมต่ำที่สุด 4. กลยุทธ์การพัฒนาสันติพิสัย 4.1 กลยุทธ์ระดับชาติ ได้แก่ การออกนโยบาย ข้อตกลงร่วมกันเพื่อการพัฒนาสันติพิสัย การกำหนดหลักสูตรการสอนสันติพิสัย การส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางสันติ การกำหนดให้มีองค์กรเครือข่าย และการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างและพัฒนาสันติพิสัยในระดับชาติ 4.2 กลยุทธ์ระดับภูมิภาค ได้แก่ การออกนโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับเพื่อการพัฒนาสันติพิสัย การกำหนดหลักสูตรการสอนสันติพิสัย การส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางสันติ การกำหนดให้มีองค์กรเครือข่าย และการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างและพัฒนาสันติพิสัยขึ้นโดยความร่วมมือกันของสถาบันอุดมศึกษาในระดับภูมิภาค 4.3 กลยุทธ์ระดับสถาบัน ได้แก่ การออกนโยบาย กฎหมายการพัฒนาสันติพิสัย การกำหนดหลักสูตรการสอนสันติพิสัย การส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางสันติ การกำหนดให้มีองค์กรเครือข่าย และการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างและพัฒนาสันติพิสัยขึ้นในสถาบัน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ