![]() |
ผลของการฝึกท่ารำพุมเซ่ร่วมกับท่าต่อสู้เคียรูกิในกีฬาเทควันโดที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการฝึกท่ารำพุมเซ่ร่วมกับท่าต่อสู้เคียรูกิในกีฬาเทควันโดที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Creator | ประเสริฐศักดิ์ วินันท์สุชาติ |
Contributor | เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | เทควันโด, สมรรถภาพทางกาย, การออกกำลังกาย, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, Tae kwon do, Physical fitness, Exercise, Junior high school students |
Abstract | ศึกษาผลของการฝึกท่ารำพุมเซ่ร่วมกับท่าต่อสู้เคียรูกิในกีฬาเทควันโดที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ชม. ทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ 5 รายการ ดังนี้ค่าดัชนีมวลกายการทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง โดยการทดสอบ ลุก-นั่ง 60 วินาที ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย โดยการทดสอบดันพื้น 30 วินาที การทดสอบความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและต้นขาด้านหลัง โดยการทดสอบนั่งงอตัวไปด้านหน้า การทดสอบความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต วิ่งระยะไกล ทดสอบก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ถ้าพบความแตกต่าง จะใช้การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของแอล เอส ดี โดยทดสอบความนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการลุกนั่งสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการดันพื้นสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ก่อนการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความอ่อนตัวและดันพื้นสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 4 สัปดาห์ ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 8 สัปดาห์และหลังการฝึก 4 สัปดาห์กับหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการลุกนั่งและความอ่อนตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 8 สัปดาห์คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบวิ่งระยะไกลของกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |