![]() |
ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี |
Creator | อรสา ใยยอง |
Contributor | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ -- ไทย -- นนทบุรี, Depression in old age, Older people -- Thailand -- Nonthaburi |
Abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า อารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี วิธีการศึกษา ศึกษาผู้สูงอายุ จำนวน 400 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ 3) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย และ 4) แบบประเมินความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว นำเสนอความชุกของภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ เป็นค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ผลการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 71.5) มีอายุเฉลี่ย 68.8 ปี มีภาวะซึมเศร้า 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.2 แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.8 ภาวะซึมเศร้าปานกลาง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.2 และภาวะซึมเศร้ารุนแรง 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.2 พบอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.2 มีความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 69.0) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/หรือแยกกันอยู่ ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้/หรือมีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท/เดือน ไม่ได้รับรายได้จากการประกอบอาชีพ ฐานะการเงินครอบครัวที่ไม่เพียงพอ ที่พักอาศัยที่ไม่ใช่ของตนเอง ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับคู่สมรส พักอยู่คนเดียว โรคประจำตัวทางกาย ประวัติโรคทางจิตเวช การใช้สารเสพติด การสูญเสียบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี (p< 0.05) ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป (adjusted OR 2.32, 95%CI = 1.02-5.26, p < 0.05) ฐานะการเงินครอบครัวที่ไม่เพียงพอ (adjusted OR 4.02, 95%CI = 1.81-8.90, p < 0.01) การใช้สารเสพติด (adjusted OR 2.40, 95%CI = 1.08-5.35, p < 0.05) การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด (adjusted OR 2.12, 95%CI = 1.03-4.39, p < 0.05) และความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี (adjusted OR 5.46, 95%CI = 2.34-12.73, p < 0.01) สรุป ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี มีความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 13.2 แบ่งเป็นซึมเศร้าเล็กน้อยร้อยละ 7.8 ซึมเศร้าปานกลางร้อยละ 5.2 และซึมเศร้ารุนแรงร้อยละ 0.2 มีความชุกของอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ ร้อยละ 16.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและเป็นปัจจัยทำนายที่สำคัญได้แก่ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ฐานะการเงินครอบครัวที่ไม่เพียงพอ การใช้สารเสพติด การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |