ความสัมพันธ์ระหว่างระดับเอนทีโปรบีเอนพีกับขนาดของหัวใจห้องล่างขวาของผู้ป่วยที่ได้รับการปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นหัวใจห้องบนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
รหัสดีโอไอ
Title ความสัมพันธ์ระหว่างระดับเอนทีโปรบีเอนพีกับขนาดของหัวใจห้องล่างขวาของผู้ป่วยที่ได้รับการปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นหัวใจห้องบนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Creator กรองอร ภิญโญลักษณา
Contributor สุพจน์ ศรีมหาโชตะ, ศริญญา ภูวนันท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword หัวใจ -- ความผิดปกติ, หัวใจ -- โรค -- การรักษา, Heart -- Abnormalities, Heart -- Diseases -- Treatment, Heart septum
Abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อหาหน้าที่ของ NT-PROBNP ในการประมาณค่าของขนาดหัวใจห้องล่างขวาในผู้ป่วยที่มีช่องว่างระหว่างผนังกั้นหัวใจห้องบน ก่อนและหลังปิดด้วยอุปกรณ์พิเศษ บทนำ : การปิดช่องว่างระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจห้องบนไม่ว่าจะเป็นด้วยอุปกรณ์พิเศษหรือผ่าตัดจะทำในกรณีที่มีหัวใจห้องบนขวาและล่างขวาใหญ่ขึ้นโดยจะมีหรือไม่มีอาการก็ได้ หลังจากปิดด้วยอุปกรณ์พิเศษ ก็ต้องประเมินอัลตราซาวด์หัวใจเป็นระยะๆเพื่อดูขนาดและการทำงานของหัวใจห้องล่างขวารวมถึงความดันในปอด มีการศึกษาในต่างประเทศก่อนหน้านี้พบว่าระดับ NT-proBNP และขนาดหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งประเมินโดยการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กพบว่ามีความสัมพันธ์กันในผู้ป่วยโรคนี้ เราจึงคิดว่า การนำเอาระดับ NT-proBNP มาประเมินความสัมพันธ์กับขนาดและการทำงานของหัวใจห้องล่างขวา รวมถึงความดันในปอดหลังจากการปิดด้วยอุปกรณ์พิเศษในคนไข้โรคนี้น่าจะเป็นประโยชน์ ผลการวิจัย : พบว่าขนาดหัวใจห้องล่างขวาตั้งต้นใหญ่กว่าค่าปกติในผู้ป่วยเกือบทุกคนโดยอยู่ที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 36 + 7 มม. หลังจากปิดที่ 6- 72 ชม. และที่ 1 – 3 เดือน ค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 31 + 5 และ 29 + 4 ตามลำดับ (P<0.001) ส่วน NT-proBNP ตั้งต้นได้ 270 + 63 พก/มล. ที่ 6 – 72 ชม. หลังปิด ค่าได้เพิ่มขึ้นเป็น 393 + 64 พก/มล. อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) อย่างไรก็ตามที่ 1 – 3 เดือน ค่าได้ลดลงเป็น 296 + 50 พก/มล. (P = 0.127) ไม่พบความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดของหัวใจห้องล่างขวาและระดับ NT-proBNP ก่อนปิด (r = 1.95OE – 4, P = 0.475) และที่ 1- 3 เดือนหลังปิด (r = 0.017,P = 0.275) สรุป : ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดหัวใจห้องขวาที่ประเมินโดยวิธีอัลตราซาวด์ และระดับ NT-proBNP ในผู้ป่วยที่ปิดช่องว่างระหว่างผนังกั้นหัวใจห้องบน วิเคราะห์ผลการวิจัย : พบว่าขนาดหัวใจห้องล่างขวา,ขนาดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปปอด, ความดันในปอด (ทั้งที่ประเมินจากการอัลตราซาวด์หัวใจและการสวนหัวใจ ทั้งตั้งต้นและที่ 1- 3 เดือนหลังทำ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับ NT-proBNP อย่างมีนัยสำคัญเลย รวมถึงสมรรถภาพกำลัง, อัตราการไหลของเลือดที่ไปปอดต่อร่างกาย (Qp : Qs) ด้วย
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ