การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์
รหัสดีโอไอ
Title การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์
Creator สุวิมล เสวกสุริยวงศ์
Contributor โชติกา ภาษีผล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword แบบทดสอบวินิจฉัย, วิจัย, Diagnostic test, Research
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ และ (3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้งนี้ทั้งหมด 75 เล่ม เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยทั้ง 75 เล่มส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยระดับมหาบัณฑิต ส่วนมากเป็นงานวิจัยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืองานวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือการสร้างแบบสอบวินิจฉัย และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ระดับชั้นที่มีการสร้างแบบสอบวินิจฉัยมากที่สุด คือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื้อหาที่มีการสร้างแบบสอบวินิจฉัยมากที่สุดคือ เรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 2. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีเพียงบางประเด็นซึ่งมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับแบบสอบวินิจฉัยทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมีสัดส่วนเหมาะสม การกำหนดคะแนนจุดตัด การอภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ส่วนประเด็นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับแบบสอบมีความทันสมัย มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำผลการเปรียบเทียบคะแนนผลประเมินงานวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครกับ มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดพบว่า คะแนนประเมินคุณภาพโดยรวมใกล้เคียงกัน ส่วนช่วงปีที่ทำการวิจัยพบว่า ช่วงปี พ.ศ. 2530 -2536 ช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2529 ปี พ.ศ. 2537 – 2543 และช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2551 มีคะแนนประเมินคุณภาพโดยรวมใกล้เคียงกัน3. ผลการสังเคราะห์ความรู้ พบว่าขั้นตอนการสร้างแบบสอบวินิจฉัยมีขั้นตอนดังนี้ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง 2.ศึกษาทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัย 3. วิเคราะห์เนื้อหาและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4.สร้างแบบสอบเพื่อสำรวจ 5. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ 6. ทดสอบเพื่อสำรวจจุดบกพร่องและรวบรวมคำตอบ 7. สร้างแบบสอบวินิจฉัย 8. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรง 9. ทดลองใช้แบบสอบ 10. วิเคราะห์ คัดเลือกและปรับปรุงข้อสอบ 11. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบและวิเคราะห์จุดบกพร่อง 12. จัดทำคู่มือการใช้แบบสอบวินิจฉัยและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม 4. ผลการสังเคราะห์เรื่องจุดบกพร่องที่พบจากงานวิจัยพบว่า นักเรียนมีจุดบกพร่องทั้ง 4 ช่วงชั้น โดยมีจุดบกพร่องดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 เรื่อง การบวก ลบ จำนวนซึ่งมีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 การบวก ลบ คูณ และหาร จำนวนนับ โจทย์ปัญหา และเศษส่วน ช่วงชั้นที่ 2 เรื่อง เศษส่วน โจทย์ปัญหา ทศนิยม บทประยุกต์ ทศนิยม สมการและการแก้สมการ และจำนวนนับ ช่วงชั้นที่ 3 เรื่อง สมการ ทศนิยม อัตราส่วนร้อยละ รูปเลขาคณิต 2 มิติ 3 มิติ จำนวนและการดำเนินการ สมบัติจำนวนนับ จำนวนเต็ม อัตราส่วน ร้อยละ สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ตัวประกอบพหุนาม เลขยกกำลัง โพลิโนเมียล อัตราส่วนตรีโกณมิติ ช่วงชั้นที่ 4 เรื่อง ฟังก์ชัน ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ภาคตัดกรวย จำนวนและการดำเนินการ สมการและอสมการ เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม และอนุพันธ์
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ