![]() |
การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมผิวดิน ที่ส่งผลต่อระบบอุทกนิเวศ กรณีศึกษา บ้านแม่แอน ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมผิวดิน ที่ส่งผลต่อระบบอุทกนิเวศ กรณีศึกษา บ้านแม่แอน ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ |
Creator | กังวาน พิพิธพงศ์สันต์ |
Contributor | ดนัย ทายตะคุ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- บ้านแม่แอน (เชียงใหม่), สิ่งปกคลุมดิน -- ไทย -- บ้านแม่แอน (เชียงใหม่), อุทกวิทยา -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, Land use -- Thailand -- Ban Mae Ann (Chiangmai), Land cover -- Thailand -- Ban Mae Ann (Chiangmai), Hydrology -- Mathematical models |
Abstract | การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน ต่อระบบอุทกนิเวศ มีวัตถุประสงค์คือ ประการที่หนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมผิวดินที่ส่งผลต่อระบบอุทกนิเวศ โดยมีกรอบแนวคิดในด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และกระบวนการอุทกวิทยา ประการที่สอง เพื่อทำการศึกษาวิธีการและการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับระบบอุทกนิเวศ ประการที่สาม เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ ที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อระบบอุทกนิเวศ และเสนอแนะแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ของระบบอุทกนิเวศกับงานภูมิสถาปัตยกรรม การศึกษาและการวิเคราะห์ผลกระทบทางอุทกวิทยา จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมผิวดิน ด้วยการป้อนข้อมูลการใช้ที่ดินจากการจำลองการเปลี่ยนแปลง 3 แบบและจากข้อมูลที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน รวมทั้งข้อมูลทางด้านอุทกศาสตร์ ลงในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ WIN TR-55 เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อระบบอุทกนิเวศ โดยใช้พื้นที่บ้านแม่แอนเป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมผิวดิน เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ผิวซึ่งไม่สามารถซึมซับน้ำได้ จะส่งผลต่อ ปริมาณน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น อัตราการไหลสูงสุดสูงขึ้น และระยะเวลาการไหลรวมตัวของน้ำในลำน้ำเร็วขึ้น และเมื่อมีการลดลงของปริมาณพื้นที่ผิวซึ่งไม่สามารถซึมซับน้ำได้ จะส่งผลต่อ ปริมาณน้ำท่าที่ลดลง อัตราการไหลสูงสุดต่ำลง และระยะเวลาการไหลรวมตัวของน้ำในลำน้ำช้าลง อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา ความสัมพันธ์ของระบบอุทกนิเวศกับงานภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นแนวทางสู่การออกแบบที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |