ผลของอีดีทีเอและกรดซิตริกต่อการดูดดึงแคดเมียมในน้ำด้วยผักตบชวา
รหัสดีโอไอ
Title ผลของอีดีทีเอและกรดซิตริกต่อการดูดดึงแคดเมียมในน้ำด้วยผักตบชวา
Creator กัลปพฤกษ์ คงเมือง
Contributor พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดแคดเมียม, น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ, การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ, กรดมะนาว, แคดเมียม, ผักตบชวา, อีดีทีเอ, Sewage -- Purification -- Cadmium removal, Sewage -- Purification -- Biological treatment, Citric acid, Cadmium, Bioremediation, Water hyacinth, EDTA
Abstract การศึกษาผลของอีดีทีเอ (EDTA) และกรดซิตริก (Citric acid) ต่อการดึงดูดแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยผักตบชวาที่มีการเติมสารละลายแคดเมียม 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุมไม่มีการเติมสารคีเลตทั้ง สองชนิด 2) ชุดการทดลองที่เติมสาร EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร 3) ชุดการทดลองที่เติม Citric acid ที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 4) ชุดการทดลองที่เติม Citric acid ร่วมกับสาร EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 0.25, 0.5และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ชนิดละเท่าๆ กัน ทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน เพื่อหาปริมาณแคดเมียมในส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้น้ำ(ราก) ของผักตบชวา และปริมาณแคดเมียมในน้ำที่ใช้ในการทดลอง ผลการทดลองในทุกชุดการทดลอง พบว่า ผักตบชวามีความสามารถในการสะสมแคดเมียมมากที่สุดในส่วนใต้น้ำ(ราก) รองลงมา คือ ส่วนเหนือน้ำ(ลำต้นและใบ) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม แสดงให้เห็นว่าสารคีเลตทั้ง สองชนิดมีส่วนช่วยในการดูดดึงแคดเมียมในผักตบชวา โดยในชุดที่เติม EDTA และชุดที่เติม Citric acid ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร มีปริมาณการสะสมแคดเมียมได้สูงที่สุดในส่วนเหนือน้ำ(ลำต้นและใบ) เท่ากับ 156.7 และ105.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้งที่เวลา 15 วัน ตามลำดับ โดยในชุดที่เติม EDTA ที่เวลา 15 วัน พบว่าผักตบชวามีการสะสมแคดเมียมได้สูงที่สุดในส่วนราก เท่ากับ 645.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง และในชุดที่เติม Citric acid ที่เวลา 75 วัน ผักตบชวามีการสะสมแคดเมียมในส่วนใต้น้ำ(ราก) มากที่สุดเท่ากับ 603.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง แสดงให้เห็นว่าการเติม EDTA มีส่วนช่วยในการดูดดึงแคดเมียมได้ดีกว่า Citric acid สอดคล้องกับค่าศักยภาพในการสะสมทางชีวภาพของผักตบชวา (Bioconcentration factor: BCF) ที่พบว่า ชุดการทดลองที่มีการเติม EDTA ที่ 15 วัน มีค่า BCF เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 802.5 ซึ่งมีค่ามากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองที่เติม Citric acid ที่ 75 วัน ที่มีค่า BCF เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 682.1 นอกจากนี้การศึกษาค่า Translocation factor (TF) ยังพบว่า ชุดการทดลองที่เติม EDTA มีค่ามากกว่าชุดการทดลองที่เติมCitric acid โดยมีค่า TF เท่ากับ 0.243, 0.24 และ 0.23 ที่ 15 วัน ตามลำดับความเข้มข้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการเติม EDTA มีผลต่อการดูดดึงแคดเมียมของผักตบชวามากกว่าการเติม Citric acid
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ