![]() |
นิเวศวิทยาการกินอาหารของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในพื้นที่เกษตรและป่าธรรมชาติ จังหวัดน่าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | นิเวศวิทยาการกินอาหารของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในพื้นที่เกษตรและป่าธรรมชาติ จังหวัดน่าน |
Creator | สุทธิณี เหลาแตว |
Contributor | วิเชฏฐ์ คนซื่อ, ชัชวาล ใจซื่อกุล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ -- ไทย -- น่าน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ -- นิเวศวิทยา -- ไทย -- น่าน, โซ่อาหาร (นิเวศวิทยา) -- ไทย -- น่าน, นิเวศวิทยาสัตว์ -- ไทย -- น่าน, Amphibians -- Thailand -- Nan, Amphibians -- Ecology -- Thailand -- Nan, Food chains (Ecology) -- Thailand -- Nan, Animal ecology -- Thailand -- Nan |
Abstract | การศึกษานิเวศวิทยาการกินอาหารของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในพื้นที่เกษตรและป่าธรรมชาติ จังหวัดน่าน มุ่งเน้นที่จะศึกษาบทบาทหรือหน้าที่ (guild) ของกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ทำหน้าที่เป็นผู้ล่าและอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อม 2 แบบ ที่มีโครงสร้างพืชในถิ่นที่อยู่อาศัยต่างกันในระบบนิเวศ ได้แก่ พื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจดำเนินการใน ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 20:00-22:00 น. โดยทำการสำรวจเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 12 เดือน เก็บตัวอย่างสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกด้วยวิธี Visual Encounter Survey แบบ Strip transect เก็บตัวอย่างแมลงในพื้นที่ด้วยวิธีวางกับดักแบบหลุมโจน วิธีกับดักแสงและวิธีใช้สวิงจับแมลง และเก็บตัวอย่างเหยื่อในกระเพาะอาหารด้วยวิธี Reversed Stomach พบว่ามีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรจำนวน 10 ชนิดและในพื้นที่ป่าธรรมชาติ 17 ชนิด มีค่าเฉลี่ยดัชนีความหลากหลายของชนิด (Shannon’s Wiener index) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในทั้ง 2 พื้นที่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยคือ 0.972 ในพื้นที่เกษตรและ 0.959 ในพื้นที่ป่าธรรมชาติและมีค่าความคล้ายคลึง (Sorensen similarity index) เท่ากับ 0.519 และดัชนีความหลากหลายของชนิดแมลงในพื้นที่เกษตร (1.430) และพื้นที่ป่าธรรมชาติ (1.640) มีค่าใกล้เคียงกัน ในขณะที่ค่าดัชนีความหลากหลายอาหารที่พบในกระเพาะของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในป่าธรรมชาติ (1.673) สูงกว่าในพื้นที่เกษตร (0.885) ดังนั้นจากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในพื้นที่ป่าธรรมชาติสามารถกินอาหารได้หลากหลายกว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในพื้นที่เกษตร ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่อาศัยในพื้นที่ป่าธรรมชาติมีความยาวของลำตัว ความกว้างของปาก และความยาวของหัวใหญ่กว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t-test, p<0.05) |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |