รูปแบบธุรกิจสำหรับศูนย์รีไซเคิลชุมชนขนาดเล็ก
รหัสดีโอไอ
Title รูปแบบธุรกิจสำหรับศูนย์รีไซเคิลชุมชนขนาดเล็ก
Creator กรองกาญจน์ รัตนวงษ์กิจ
Contributor วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword ธุรกิจขนาดย่อม -- การจัดการ, ขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่, การคัดแยกขยะ, Small business -- Management, Refuse and refuse disposal -- Recycling
Abstract ปัจจุบันเมืองได้ขยายตัวมากขึ้น สังคมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ พฤติกรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ปริมาณของเสียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วประชากรจะผลิตขยะมูลฝอยเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 1-2 กิโลกรัม ขยะส่วนใหญ่ที่ทิ้งมีหลายประเภท เช่น ขยะ เปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย เป็นต้น นอกจากนี้ขยะยังมีการปนเปื้อนผสมกันอยู่ ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดเก็บขยะควรมีการกำหนดนโยบายหรือมาตรการการกำจัดขยะของท้องถิ่นให้ชัดเจน การกำจัดขยะของท้องถิ่นส่วนใหญ่ เทศบาลจะนำรถเก็บขยะออกมาเก็บขยะตามหมู่บ้าน ในช่วงเวลาที่ต่างกัน การเก็บแต่ละครั้งนั้นจะมีพนักงานประมาณ 3-4 คน ใช้เวลาเก็บประมาณ 8 ชั่วโมง ในขณะที่เก็บขยะนั้นพนักงานจะคัดแยกประเภทของขยะแต่ละชนิดออกจากกันโดยใส่ถุงดำและแยกประเภทไว้เพื่อให้ง่ายต่อการกำจัด การคัดแยกขยะดังกล่าวทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ตามมา คือ พนักงานเก็บขยะนำขยะที่คัดแยกแล้วมาขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ดังนั้นพนักงานเก็บขยะมีรายได้เฉลี่ยจากการขายขยะรีไซเคิลประมาณ 400-500 บาทต่อวัน การกำจัดขยะในแต่ละวันเจ้าหน้าที่ได้วางมาตรการกำจัดขยะแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อลดปัญหาของขยะแต่ละพื้นที่ให้ลดน้อยลง กำจัดปัญหาด้านด้านกลิ่นและเชื้อโรคต่างๆ ตัวแปรที่สำคัญที่ส่งผลให้ปริมาณขยะลดลง คือ ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านควรให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อลดปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานของภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยออกมาตรการเรื่องการลดหย่อนภาษีหรือให้สิทธิพิเศษแก่ประชาชนที่แยกขยะก่อนทิ้ง หรือจัดทำแรงจูงใจด้านภาษีโดยเก็บภาษีหรือลดภาษีให้กับสินค้าอุปโภคและบริโภค ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการขยะรีไซเคิลควรมี ดังนี้ 1) โครงสร้างทางด้านการเงินและภาษีผู้บริโภค 2) กฎหมายท้องถิ่น ผู้ประกอบการ 3) สัมปทานเอกชน (ทีโออาร์) 3.1) ได้รับส่วนลดเงินคืนจากการนำผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้แล้วกลับสู่ร้านขายปลีก 3.2) ร้านขายปลีกรับและแยกผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วส่งกลับผู้ผลิต ลดงบประมาณทางด้านการขนส่ง เพราะร้านรับซื้อของเก่าส่วนใหญ่จะนำสินค้าไปส่งที่เองที่ร้าน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ