ประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย
รหัสดีโอไอ
Title ประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย
Creator นวรัตน์ มีถาวร
Contributor วาสินี วิเศษฤทธิ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2552
Keyword การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต, ผู้ป่วยหนัก -- การดูแล
Abstract ศึกษาความหมายและประสบการณ์พัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายความ (Qualitative descriptive) ผู้ให้ข้อมูลคือหัวหน้าหอผู้ป่วย ที่มีประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เป็นผู้ที่มีผลงานหรือโครงการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานอื่น จำนวน 14 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของโคไลซี่ ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยให้ความหมายของการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไว้ 3 ความหมาย คือ 1) การดูแลตามความต้องการของผู้ป่วยและญาติ 2) การดูแลตามมาตรฐานเชิงวิชาชีพ และ 3) การดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานน้อยที่สุด ส่วนประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบ่งเป็น 3 ประเด็นหลักคือ ประเด็นหลักที่ 1 ระยะเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ 1) เริ่มจากนโยบายของโรงพยาบาลและมีคนขับเคลื่อน และ 2) เริ่มจากจิตสำนึกส่วนตัว: อยากช่วยให้ตายอย่างสงบและงดงาม ประเด็นหลักที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหัวหน้าหอผู้ป่วยคือ 1) การดูแลด้วยความเข้าใจ โดย (1.1) เตรียมสถานที่ อุปกรณ์และบุคลากร (1.2) เพิ่มสมรรถนะของบุคลากร และ (1.3) จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2) การดูแลด้วยความเอาใจใส่ โดย (2.1) จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย และ (2.2) ปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง ประเด็นหลักที่ 3 ผลของการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดังนี้ 1) ผลต่อผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ (1.1) สามารถเผชิญกับสถานการณ์คุกคามได้ดีขึ้น (1.2) ได้ตายอย่างสงบ (1.3) ครอบครัวลดความโศกเศร้า 2) ผลต่อบุคลากร แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ (2.1) สุขใจกับผลการพัฒนา (2.2) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (2.3) ได้รับการยอมรับจากทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) ผลต่อหน่วยงานแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ (3.1) การมีส่วนร่วมในการปรับระบบงานให้ดีขึ้น และ (3.2) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ จากผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายและประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย โดยผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปสร้างแรงจูงใจ และสนับสนุนหัวหน้าหอผู้ป่วยในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ