![]() |
ประสิทธิผลของกระบวนการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการ“การสนทนาสร้างแรงจูงใจ” ที่คลินิก ทันตกรรมในกลุ่มนักกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สวัสดิศักดิ์ นาแถมพลอย |
Title | ประสิทธิผลของกระบวนการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการ“การสนทนาสร้างแรงจูงใจ” ที่คลินิก ทันตกรรมในกลุ่มนักกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
Contributor | สูงกฤษฏิ์ พจน์มนต์ปิติ, จินต์จุฑา รัตนบุรี, ณวรรษ ชูศรี |
Publisher | สำนักทันตสาธารณสุข |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Thai Dental Public Health Journal |
Journal Vol. | 29 |
Page no. | 156-174 |
Keyword | quit smoking, smoking cessation, dental student, dentistry, dentist |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo |
Website title | วิทยาสารทันตสาธารณสุข |
ISSN | ISSN 3027-7469 |
Abstract | การศึกษาทางคลินิกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิผลของกระบวนการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการสนทนาสร้างแรงจูงใจ (Motivation Interviewing; MI) โดยนักศึกษาทันตแพทย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาที่สูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 39 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คนใช้กระบวนการ MI (3-5 นาที) ที่พัฒนาขึ้นในการช่วยเลิกบุหรี่ และกลุ่มควบคุม 19 คน ใช้แบบกระชับ (5A’s) ของ WHO (5 - 10นาที) โดยเก็บข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ระดับความรุนแรง การติดนิโคติน วัดระดับก๊าซในลมหายใจ สู่กระบวนการเลิกบุหรี่ ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้การรักษา และติดตามผลที่ 2 สัปดาห์ พบว่า คนเลิกสูบบุหรี่เป็นกลุ่มทดลอง ร้อยละ 20.0 และกลุ่มควบคุม ร้อยละ 42.1 การสูบที่ลดลง เป็นกลุ่มทดลอง ร้อยละ 65.0 และกลุ่มควบคุม ร้อยละ 42.1 วิธีการ MI ทำให้ปริมาณนิโคตินที่สูบต่อวันลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่ 5A’s ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การทดสอบผลต่างที่ลดลงของปริมาณนิโคตินที่สูบต่อวันระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป: การช่วยเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการ MI ที่ถูกพัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการช่วยเลิกบุหรี่ได้จริงไม่แตกต่างจาก 5A’s แต่มีความกระชับ และใช้เวลาที่สั้นลง สามารถใช้กับการ ทำงานของทันตแพทย์ในคลินิกทันตกรรมทั่วไป |