การพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานโรคเอดส์ในโรงพยาบาลด้วยวิธีเยี่ยมเสริมพลังแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี เขตสุขภาพที่ 10
รหัสดีโอไอ
Creator พัชมณ เจริญนาวี
Title การพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามงานโรคเอดส์ในโรงพยาบาลด้วยวิธีเยี่ยมเสริมพลังแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี เขตสุขภาพที่ 10
Contributor สุริยงค์ บุญประเชิญ, นิตยา ดาวงศ์ญาติ, จิรัญญา มุขขันธ์, ทิพวรรณ์ หมื่นพัน
Publisher กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
Publication Year 2568
Journal Title วารสารโรคเอดส์
Journal Vol. 37
Journal No. 1
Page no. 24-35
Keyword การนิเทศเยี่ยมเสริมพลังแบบบูรณาการ, การพัฒนารูปแบบ, การเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
URL Website https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/index
Website title เว็บไซต์วารสารโรคเอดส์
ISSN 2985-0371
Abstract การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้การเยี่ยมเสริมพลังแบบบูรณาการงานป้องกันควบคุมโรคเอดส์ เขตสุขภาพที่ 10 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเลือกพื้นที่แบบเจาะจง จำนวน 29 โรงพยาบาล เป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไประดับจังหวัดทุกแห่ง และโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 10 ที่มีผลการดำเนินงานการรักษาผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีต่ำกว่าร้อยละ 80.0 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร และทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาล ทำการศึกษาระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2565 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณผ่านระบบรายงานข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ (NAP web report) และวัดระดับความพึงพอใจ ข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจากการสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสรุปจากเอกสาร และการถอดบทเรียน ได้รูปแบบการนิเทศงานเยี่ยมเสริมพลังแบบบูรณาการเขตสุขภาพที่ 10 มีขั้นตอนกระบวนงาน TDRC 4 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมทีม (team) (2) ข้อมูล (data) (3) การสรุปผล (result) และ (4) การนำผลย้อนกลับมาพัฒนา (continuing) ผลการดำเนินงานระดับเขต พบว่า ด้านผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีได้รับบริการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีระดับเขตเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 80.0 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็น ร้อยละ 86.0 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผลการดำเนินงานระดับโรงพยาบาล พบว่า จำนวนโรงพยาบาลที่สามารถปรับระดับการเข้าถึงการรักษาผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีจากระดับสีแดงไปเป็นระดับสีเหลืองและสีเขียวเพิ่มขึ้น จำนวน 23 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 79.3 ระดับความพึงพอใจในการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก (Mean=4.36, SD=0.55) ปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาศักยภาพ งบประมาณ และการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงนโยบายต่อผู้บริหารของทีมเยี่ยมต่อไป
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ