![]() |
ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ของผู้ป่วยเอชไอวีหลังปรับยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นสูตรผสม TLD (tenofovir disoproxil fumarate, lamivudine และ dolutegravir) ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อุดมรัตน์ ปลอดชูแก้ว |
Title | ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ของผู้ป่วยเอชไอวีหลังปรับยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นสูตรผสม TLD (tenofovir disoproxil fumarate, lamivudine และ dolutegravir) ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Contributor | รัตนวรรณ แก้วไข่, พรเทพ เดชผล |
Publisher | กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารโรคเอดส์ |
Journal Vol. | 37 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 13-23 |
Keyword | โรคเอดส์, จำนวน CD4, เอชไอวี, ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรผสม TLD |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/index |
ISSN | 2985-0371 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเอชไอวีที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส tenofovir disoproxil fumarate, lamivudine และ dolutegravir (TLD) ที่โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 รวมจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 450 ราย ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีจำนวน CD4 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (276 ราย) และกลุ่มที่ 2 ที่มีจำนวน CD4 มีแนวโน้มลดลง (174 ราย) ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของจำนวน CD4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ จำนวน CD4 พื้นฐาน ร้อยละของจำนวน CD4 พื้นฐานน้ำหนักตัวก่อนและหลังการรักษาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนและหลังการรักษาการนอนหลับพักผ่อนมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน การออกกำลังกายมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การดื่มน้ำมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน การรับประทานผักมากกว่า 1 ทัพพีต่อวัน และการเปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อและมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี นอกจากนี้ ยังพบว่า การทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น การนั่งสมาธิในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของจำนวน CD4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าทั้งปัจจัยทางกายภาพและจิตสังคมมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นสูตรผสม TLD ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าในบริบทที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงแนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |