![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กฤษณา หวังมุขกลาง |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา |
Contributor | วิมลรัตน์ บุญเสถียร, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ |
Publisher | กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารโรคเอดส์ |
Journal Vol. | 36 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 121-134 |
Keyword | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ใหญ่, ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารโรคเอดส์ |
ISSN | 2985-0371 |
Abstract | การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยผู้ใหญ่ ในคลินิกยาต้านไวรัส แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชนระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 173 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 โดยใช้ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านการรักษา (2) แบบสอบถามอาการข้างเคียงจากการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี (3) แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยา (4) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ (5) แบบวัดคะแนนความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI=1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงโลจิสติกแบบไบนารี ผลการวิจัย พบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เคยลืมและเคยรับประทานยาผิดเวลา (ร้อยละ 62.43 และ 67.63 ตามลำดับ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ได้แก่ ระยะเวลาในการรักษา 1-3 ปี (adj. OR=6.44) ประวัติการรักษาไม่ต่อเนื่อง (adj. OR=6.43) มีอาการข้างเคียงจากยาต้านไวรัส (adj. OR=2.71) และความเชื่อเฉพาะด้านการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยาในระดับต่ำถึงปานกลาง (adj. OR=4.02) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 36.1 (Nagelkerke R2=0.361) ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีระบบการประเมินอาการข้างเคียงและการรับรู้ความจำเป็นในการรับประทานยาต้านไวรัส ระบบการติดตามข้อมูลความต่อเนื่องในการรักษา เพื่อวางแนวทางหรือพัฒนาโครงการในการส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีระยะเวลาในการรักษา 1-3 ปี |