![]() |
ความหลากหลายชนิดของแพลงก์ตอนพืช และความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพน้ำในบริเวณพื้นที่ฟาร์มหอยแมลงภู่ บริเวณชายฝั่งทะเลบ้านแหลม อ่าวบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อุไรรัตน์ รัตนวิจิตร |
Title | ความหลากหลายชนิดของแพลงก์ตอนพืช และความสัมพันธ์ ระหว่างคุณภาพน้ำในบริเวณพื้นที่ฟาร์มหอยแมลงภู่ บริเวณชายฝั่งทะเลบ้านแหลม อ่าวบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี |
Contributor | วิทย์ ธารชลานุกิจ, เกษม จันทร์แก้ว, อรอนงค์ ผิวนิล |
Publisher | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 128-139 |
Keyword | ความหลากหลาย, แพลงก์ตอนพืช, คุณภาพน้ำ, อ่าวบางตะบูน, ความสัมพันธ์, Species Diversity, Phytoplankton, Water Quality, Bang Ta boon Bay, Correlation |
URL Website | http://www.sci.rmutt.ac.th/stj |
Website title | Science and Technology RMUTT Journal |
ISSN | 2229-1547 |
Abstract | การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชบริเวณพื้นที่ชายฝั่งอ่าวบางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ฟาร์มหอยแมลงภู่ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับปริมาณแพลงก์ตอนพืช โดยเก็บตัวอย่างในเดือนพฤศจิกายน 2559 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 35 ชนิดโดยพบแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลก เจลเลตมีปริมาณมากที่สุด และพบว่าไดอะตอมมีความหลากหลายชนิดมากที่สุด ไดอะตอมชนิดเด่นที่พบ คือ Cyclotella sp. และ Coscinodiscus sp. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่พบคือ Oscillatoria sp. และ กลุ่มไดโนแฟลก เจลเลต ที่พบคือ Ceratium furca ซึ่งมีปริมาณมากที่สุด ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ และค่าดัชนีความมากชนิดของแพลงก์ตอนพืชมีค่าเท่ากับ 0.34 , 0.098 และ 3.56 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำชายฝั่งอ่าวบางตะบูนยังอยู่เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดยกเว้นฟอสเฟตกับแอมโมเนียม ส่วนการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับปริมาณแพลงก์ตอนพืช พบว่าแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวบางตะบูน มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับแอมโมเนียม ส่วนกับพารามิเตอร์อื่น ๆ มีความสัมพันธ์น้อย แต่เมื่อดูความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียมซิลิเกตมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 กับปริมาณฟอสเฟต และมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับค่าความเป็นกรด-ด่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |