![]() |
การปรับสภาพเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์ |
Title | การปรับสภาพเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ |
Contributor | อรสา จันทร์ลือชัย, รัศมี คะมุง |
Publisher | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-9 |
Keyword | การปรับสภาพ, เปลือกข้าวโพด, กาบมะพร้าว, วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร, Pretreatment, Corn husks, Coconut husks, Agricultural waste materials |
URL Website | http://www.sci.rmutt.ac.th/stj |
Website title | Science and Technology RMUTT Journal |
ISSN | 2229-1547 |
Abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตไบโอเอทานอล โดยทำการศึกษาองค์ประกอบหลักทางเคมีของเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าว พบว่า วัสดุทั้งสองชนิดมีเฮมิเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบหลักในปริมาณสูงที่สุด คือ 62.19?0.03 % และ 54.61?0.06 % ตามลำดับ รองลงมาคือเซลลูโลส (34.29?0.03 % และ 31.89?0.03 % ตามลำดับ) การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าว พบว่าการใช้กรดเจือจาง (1% (v/v) H2SO4) ภายใต้อุณหภูมิ 121?C เป็นเวลา 90 นาที มีผลทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์สูงมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คือ 94.28?2.58 และ 59.65?2.58 g/L ตามลำดับ รองลงมาคือการใช้กรด (1% (v/v) H2SO4) ร่วมกับการใช้เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase, Cellic?Ctec 2) สำหรับผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของโครงสร้างพื้นผิวของเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด (Scanning electron microscope; SEM) สามารถยืนยันได้ว่าการใช้กรดเจือจางในการปรับสภาพเปลือกข้าวโพดและกาบมะพร้าวมีผลทำให้โครงสร้างการจัดเรียงตัวและพื้นผิวของเส้นใยถูกทำลายอย่างชัดเจน |