การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถพยาบาลห้องผ่าตัด ในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รหัสดีโอไอ
Creator รุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล
Title การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถพยาบาลห้องผ่าตัด ในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Contributor ชุลีพร การะภักดี, วรรณภา ตั้งแต่ง, อภิสรา สอนเมือง, ณัฎชารี กัณฑะเกตุ
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 22
Journal No. 1
Page no. 26-36
Keyword พยาบาลห้องผ่าตัด, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด, การพัฒนาความสามารถ, โปรแกรมการเรียนรู้
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถของพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกrnวิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนาโปรแกรม การทดลองใช้โปรแกรม และการประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด จำนวน 34 คน และ ผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่เข้ารับการผ่าตัด จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะการพยาบาล 5 ด้าน ได้แก่ ด้านศิลปะการดูแล การประเมินผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วย การเฝ้าระวังและติดตามภาวะแทรกซ้อน และด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบบันทึกอุบัติการณ์ทางคลินิกทั้งในด้านผู้ป่วยและบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น สถิติเชิงพรรณนา ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายข้อมูลพื้นฐาน ความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจ สถิติเชิงอนุมาน ใช้ Paired t-test และ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะการพยาบาล ส่วนการเปรียบเทียบอุบัติการณ์ในผู้ป่วยระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Fisher’s Exactrnผลการศึกษา: โปรแกรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบ Microlearning ผ่านระบบออนไลน์ การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อนำไปทดลองใช้กับพยาบาลห้องผ่าตัดพบว่าหลังการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ พยาบาลมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 13.8±2.3 เป็น 17.4±1.4 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทักษะการพยาบาลในทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (จาก 31.8±2.0 เป็น 36.9±1.3 คะแนน) และด้านการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด (จาก 14.6±1.6 เป็น 19.9±5.0 คะแนน) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมในระดับมากที่สุด ในกลุ่มผู้ป่วยอุบัติการณ์ทางคลินิกที่ไม่พึงประสงค์ทั้งในด้านผู้ป่วยและบุคลากรลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05)rnสรุป: การพัฒนาโปรแกรมนี้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมซึ่งเหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลห้องผ่าตัดและบุคลากรทางการพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี ช่วยยกระดับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทั้งในด้านคุณภาพการดูแลและความปลอดภัยของผู้ป่วยrnคำสำคัญ: พยาบาลห้องผ่าตัด, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด, การพัฒนาความสามารถ, โปรแกรมการเรียนรู้
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ