![]() |
การประเมินประสิทธิภาพยาต้านอาเจียน ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปิยชาติ ไวทยกุล |
Title | การประเมินประสิทธิภาพยาต้านอาเจียน ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Contributor | มีนานุช พิรุณ |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 16-25 |
Keyword | ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัด, เกณฑ์ประเมินระดับความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์, ยาต้านอาเจียน |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้ยาต้านอาเจียนสูตรที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำในแนวทางการรักษาของ The National Comprehensive Cancer Network (NCCN) เปรียบเทียบกับสูตรที่เป็นคำแนะนำตามแนวทางการรักษา ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (Prospective Cohort Study) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่มีไซโคลฟอสฟาไมด์ร่วมกับด็อกโซรูบิซิน ศึกษาการเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังได้รับยาเคมีบำบัดชนิดเฉียบพลัน (0-24 ชั่วโมง) และชนิดล่าช้า (24-120 ชั่วโมง) และประเมินระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นตามเกณฑ์ Common Terminology Criteria for Adverse Events (CTCAE) Version 4.0 เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาต้านอาเจียนไม่ตรงตามคำแนะนำในแนวทางการรักษาของ The National Comprehensive Cancer Network (NCCN) ฉบับ 1.2024 (กลุ่มศึกษา) และกลุ่มที่ได้รับยาต้านอาเจียนตามคำแนะนำในแนวทางดังกล่าว (กลุ่มควบคุม) รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ทดสอบความแตกต่างของผลการศึกษาระหว่างกลุ่มโดยใช้ Independent t-test , Chi-square test และ Fisher’s exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value น้อยกว่า 0.05ผลการศึกษา: พบการเกิดอาการคลื่นไส้ชนิดเฉียบพลัน อาเจียนชนิดเฉียบพลัน คลื่นไส้ชนิดล่าช้า อาเจียนชนิดล่าช้า ในกลุ่มศึกษาร้อยละ 100, 92, 92, 88 และในกลุ่มควบคุม ร้อยละ 76, 48, 8, 4 ตามลำดับ (p-value 0.02, <0.01, <0.01, <0.01) การเกิดอาการคลื่นไส้โดยรวม (0-120 ชั่วโมง) พบในกลุ่มศึกษา ร้อยละ 100 และกลุ่มควบคุมร้อยละ 76 (p-value < 0.01) และการเกิดอาการอาเจียนโดยรวม (0-120 ชั่วโมง) พบในกลุ่มศึกษาร้อยละ 92 และกลุ่มควบคุมร้อยละ 52 (p-value < 0.01) ในกลุ่มศึกษาพบผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้ชนิดเฉียบพลันความรุนแรงระดับ 2 จำนวน 17 คน และพบผู้ป่วยเกิดอาการอาเจียนชนิดเฉียบพลันความรุนแรงระดับ 2 จำนวน 12 คน และความรุนแรงระดับ 3 จำนวน 5 คน ขณะที่ในกลุ่มควบคุม ไม่พบการเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนความรุนแรงระดับ 2 และ 3 สรุป: สูตรยาต้านอาเจียนตามคำแนะนำในแนวทางการรักษาของ NCCN มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดล่าช้าได้ดีกว่าสูตรยาต้านอาเจียนอื่นนอกเหนือจากคำแนะนำดังกล่าวคำสำคัญ: ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัด, เกณฑ์ประเมินระดับความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์, ยาต้านอาเจียน |