ความแม่นยำในการวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เปรียบเทียบระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาและการใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสในโรงพยาบาลชลบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator สลิล สมุทรรังสี
Title ความแม่นยำในการวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เปรียบเทียบระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาและการใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสในโรงพยาบาลชลบุรี
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 21
Journal No. 2
Page no. 101-110
Keyword เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร, การตรวจทางพยาธิวิทยา, ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส, ค่าความเเม่นยำ, ค่าความไว, ค่าความถูกต้อง
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract ที่มา: แบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori; H. pylori) ก่อให้เกิดอาการต่อทางเดินอาหารได้หลากหลาย ได้แก่ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลและภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นรวมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารหลักการและเหตุผล: การตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร แต่เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่สูง ต้องอาศัยแพทย์พยาธิวิทยา ปัจจุบันมีการใช้ชุดตรวจสำเร็จเพื่อหาเอนไซม์ยูรีเอสจากเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ข้อดีคือ ตรวจได้ทันทีขณะที่ทำการส่องกล้องกระเพาะอาหาร ทราบผลเร็วภายใน 1 ชั่วโมง และค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการตรวจทางพยาธิวิทยาวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแม่นยำในการวินิจฉัยการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เปรียบเทียบระหว่างการตรวจทางพยาธิวิทยาและชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง จากผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นในรพ. ชลบุรีตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 786 ราย ที่เข้ารับการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นที่ได้รับการตรวจทั้งพยาธิวิทยาและชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส พบเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร 194 ราย (ร้อยละ 24.68) การตรวจทางพยาธิวิทยามีค่า Accuracy ร้อยละ 98.3, Sensitivity ร้อยละ 93.3 และค่า Specificity ร้อยละ 100 ในขณะที่การตรวจโดยใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส มีค่า Accuracy ร้อยละ 92.5, Sensitivity ร้อยละ 84.5 และค่า Specificity ร้อยละ 100 จากการวิเคราะห์ Univariate Analysis พบว่าการใช้ยาแก้ปวด NSAIDs มีผลให้การตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ให้ผลบวกเฉพาะต่อการตรวจพยาธฺวิทยาแต่ให้ผลลบในการตรวจโดยใช้ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส (Odd ratio2.1, Cl1.29-3.17, p-value=0.002)สรุป: ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอสสามารถตรวจพบการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ได้แม่นยำใกล้เคียงกับการตรวจทางพยาธิวิทยาและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการตรวจทางพยาธิวิทยาคำสำคัญ: เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร, การตรวจทางพยาธิวิทยา, ชุดตรวจสำเร็จยูรีเอส, ค่าความเเม่นยำ, ค่าความไว, ค่าความถูกต้อง
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ