![]() |
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จีณะ สิงหนาท |
Title | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ |
Contributor | รุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล, ศุภานัน ทองทวีโภคิน |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 86-90 |
Keyword | รูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน, การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย, ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนของการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การออกแบบและพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ และการประเมินผลระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โดยทำ การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยม ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โดยนำข้อมูลจากระยะที่ 1 และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและ ให้ข้อเสนอแนะ ระยะที่ 3 และ4 ทดลองใช้รูปแบบฯและ การประเมินผล โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นและประเมินประสิทธิ ผลของการใช้รูปแบบฯ โดยใช้แบบประเมินในด้านความรู้ ความเครียด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ จำนวน 30 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ ดำเนินระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2566ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 ปัญหาและความต้องการด้านผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ปัญหาความต้องการบุคลากร เช่น การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและการปฏิบัติที่ถูกต้อง และการติดตามผู้ป่วยก่อนจะมารับการผ่าตัดก็ไม่สามารถทำได้ครบทุกคน ระยะที่ 2 รูปแบบการเรียนรู้ฯ มีคุณภาพ และสามารถนำมาใช้ได้จริง ระยะที่ 3 และ4 การทดลองใช้และ การประเมินผล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ได้รับการผ่าตัด Laparoscopic Cholecystectomy ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น และมีระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value น้อยกว่า 0.05 สรุป: รูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานในการติดตามเยี่ยม ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เป็นรูปแบบที่มีการดูแลร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพรวมถึงการดูแลสุขภาพปฐมภูมิที่บ้านและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และลดความเครียดในการดูแลตนเอง และมีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่องระหว่าง โรงพยาบาลและชุมชนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดคำสำคัญ: รูปแบบการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน, การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย, ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ |