แนวโน้มอุบัติการณ์และการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
รหัสดีโอไอ
Creator สนธยา ชีช้าง
Title แนวโน้มอุบัติการณ์และการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 21
Journal No. 1
Page no. 23-30
Keyword อุบัติการณ์, การติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อดื้อยา
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract บทนำ: การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุให้อาการของผู้ป่วยมีความรุนแรงขึ้นและต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาและประเภทของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลสิชล วิธีการศึกษา: การศึกษาแนวโน้มอุบัติการณ์และการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Cross-sectional descriptive study) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 112 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากร อัตราอุบัติการณ์ (Incidence rate) และสัดส่วนของเชื้อจำแนกตามการดื้อยา ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 55.4 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 66.1 เป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 59.8 ระยะเวลาการนอนเฉลี่ย 18.2 วัน การติดเชื้อดื้อยาหลายขนานพบในระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุด ร้อยละ 42.9 ชนิดเชื้อดื้อยาที่พบมากที่สุดคือเชื้อ Escherichia coli (E.coli) ร้อยละ 38.0 ประเภทการดื้อยาที่พบมากที่สุดและมีแนวโน้มสูงขึ้นคือ MDR (Multi-drug resistance) และ ESBL (Extended-spectrum β-lactamases) ร้อยละ 86.8 การดื้อยาในกระแสเลือด 8 ชนิด พบเชื้อ E.coli มากที่สุด ร้อยละ 91.1 ประเภทการติดเชื้อที่พบมากที่สุดคือ เชื้อก่อโรค (Pathogen) ร้อยละ 76.7 แหล่งรับเชื้อที่พบมากที่สุดคือ โรคติดเชื้อที่เกิดในชุมชน (Community acquired Infection) ร้อยละ 55.4 และจำหน่ายผู้ป่วยจากการรักษาแบคทีเรียดื้อยาด้วยอาการดีขึ้น (Improve) ร้อยละ 76.7 สรุป: การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพบในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุและติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเชื้อที่พบการดื้อยามาก ที่สุดคือ เชื้อ E.coli คำสำคัญ: อุบัติการณ์, การติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อดื้อยา
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ