![]() |
อัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ด้วยสารรังสีไอโอดีนแบบครั้งแรก ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กรกฎ สิรเกรียงไกร |
Title | อัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ด้วยสารรังสีไอโอดีนแบบครั้งแรก ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 8-14 |
Keyword | อัตราการรักษาสำเร็จ, โรคไทรอยด์เกรฟส์, สารรังสีไอโอดีน-131 |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | ความเป็นมา: ถึงแม้ว่าข้อดีของการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษชนิดไทรอยด์เกรฟส์ (Graves’ disease) ด้วยวิธีกำหนดปริมาณ รังสีไอโอดีน-131 คงที่ตามขนาดของต่อมไทรอยด์คือสะดวกและคุ้มทุน แต่อัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาด้วยวิธีนี้ยังไม่ชัดเจน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการรักษาสำเร็จและปัจจัย ที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ ด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 แบบครั้งแรกในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไทรอยด์เกรฟส์ และได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ สิงหาคม 2561 ถึง มกราคม 2565 โดยประเมินจากการคลำขนาดต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วย แบ่งเป็น ขนาดน้อยกว่าเท่ากับ 50 กรัม 51-100 กรัม 101-150 กรัม 151-200 กรัม และมากกว่า 200 กรัม จะได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ที่ปริมาณ 10 15 20 25 และ 30 มิลลิคูรี่ ตามลำดับ และมีการบันทึกข้อมูลทางคลินิกและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษาด้วย Logistic Regression Analysis ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เกรฟส์ที่ได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 257 ราย (ร้อยละ 68.5) อายุเฉลี่ย 42.0±13.5 ปี พบว่ามีผู้ป่วยที่รักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 แบบครั้งแรกสำเร็จ 236 ราย (ร้อยละ 62.9) ส่วนใหญ่เป็นแบบ Overt Hypothyroid 151 ราย (ร้อยละ 40.3) เมื่อวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตอบสนองการรักษา ได้แก่ ขนาดต่อมไทรอยด์ 101-150 กรัม (Adjusted OR 1.91, 95%CI 1.11-3.99, p-value=0.04) ขนาดต่อมไทรอยด์ 151-200 กรัม (Adjusted OR 6.50, 95%CI 2.19-19.33, p-value<0.001) และระยะเวลาตั้งแต่การวินิจฉัยจนถึงการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 มากกว่า 18 เดือน (Adjusted OR 1.91, 95%CI 1.17-3.14, p-value=0.01) สรุป: อัตราการรักษาสำเร็จของโรคไทรอยด์เกรฟส์ ด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 แบบครั้งแรกด้วยวิธีการรักษาแบบกำหนดปริมาณรังสีไอโอดีน-131 คงที่ตามขนาดของต่อมไทรอยด์ อยู่ที่ร้อยละ 62.9 ขนาดต่อมไทรอยด์ที่ใหญ่และระยะเวลาตั้งแต่วินิจฉัยจน ถึงการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน-131 ที่นานมากกว่า 18 เดือน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการรักษา คำสำคัญ: อัตราการรักษาสำเร็จ, โรคไทรอยด์เกรฟส์, สารรังสีไอโอดีน-131 |