![]() |
การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธิดารัตน์ ลักษณานันท์ |
Title | การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-7 |
Keyword | ภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้อง, การเสียชีวิต, การถอดสายฟอกไตทางหน้าท้อง |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อรา วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางแบบย้อนหลัง (Retrospective cross-sectional study) ของผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่ได้รับการวินิจว่ามีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อรา มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้เข้ารับการรักษาตัวในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป อาการของภาวะผนังเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาที่ได้รับ และ ผลการรักษา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจำนวนทั้งหมด 44 ราย จากผู้ป่วยมีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อทั้งหมด 1,082 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.1 มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.3 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่รอดชีวิตและกลุ่มที่เสียชีวิตพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับอัลบูมินในเลือดน้อยกว่า 3 กรัม/เดซิลิตร น้อยกว่ากลุ่มที่เสียชีวิตคือ ร้อยละ 60 เทียบกับร้อยละ 100 ตามลำดับ (p-value= 0.02) และกลุ่มที่รอดชีวิตมีอัตราการถอดสายล้างไตทางหน้าท้องมากกว่า คือ ร้อยละ 100 เทียบกับกลุ่มที่เสียชีวิตคือ ร้อยละ 66.7 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) และนอกจากนี้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีแนวโน้มที่จะตรวจพบความดันโลหิตต่ำลงน้อยกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตคือ ร้อยละ 3.2 และ 25 ตามลำดับ (p-value= 0.06) และเมื่อติดตามผลการรักษาพบว่าค่ามัธยฐานของระยะเวลามีชีวิตรอดของผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับการถอดสายล้างไตทางหน้าท้องอยู่ที่ 12.0 วัน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการถอดสายล้างไตทางหน้าท้องคือ มากกว่า 4,169.4 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.01) สรุป: ภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้องเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือ ระดับอัลบูมินในเลือดที่น้อยกว่า 3 กรัม/เดซิลิตร และการไม่ได้รับการถอดสายล้างไตทางหน้าท้อง คำสำคัญ: ภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้อง, การเสียชีวิต, การถอดสายฟอกไตทางหน้าท้อง |