ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับ ในผู้สูงอายุที่ชุมชนเขตเมืองจังหวัดนครสวรรค์
รหัสดีโอไอ
Creator กัมปนาท สุริย์
Title ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับ ในผู้สูงอายุที่ชุมชนเขตเมืองจังหวัดนครสวรรค์
Contributor กุลนิดา มุขแจ้ง, วัชรศักดิ์ พงศ์ประไพ
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 21
Journal No. 4
Page no. 343-351
Keyword คุณภาพของการนอนหลับ, นอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, นครสวรรค์
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของการนอนหลับในผู้สูงอายุวิธีการศึกษา: การวิจัย Cross-sectional Study เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้รับบริการตรวจรักษา ที่ศูนย์บริการสุขภาพในเครือข่ายของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จำนวน 252 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4 ด้วยแบบสอบถามประกอบ 3 ส่วนประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลปัจจัยด้านสุขภาพ และแบบประเมิน Thai-Pittsburgh Sleep Quality Index (Thai-PSQI) ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับคุณภาพของการนอนหลับที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้ Polytomous Logistic Regression แสดงค่าขนาดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Odds Ratio (OR) และ 95% Confidence Interval (CI) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับจากดีเป็นไม่ดีมีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.0 กลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับจากไม่ดีเป็นดีมีจำนวน 18 คนคิดเป็นร้อยละ 7.2 กลุ่มที่คุณภาพการนอนหลับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมีจำนวน 215 คน คิดเป็นร้อยละ 86.8 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับจากดีเป็นไม่ดี ได้แก่ ดัชนมวลกายมากกว่าเท่ากับ 23 กิโลกรัม/เมตร2 (OR=3.28; 95%CI 1.28-8.40, p=0.01) การมีรายได้ 5,001-10,000 บาท/เดือน (OR=0.41; 95%Cl 0.18-0.94, p=0.04) การมีรายได้ > 10,000 บาท/เดือน (OR=0.29; 95%Cl 0.10-0.79, p=0.02) กล่าวคือการมีรายได้สูงทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น การปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 1 ครั้ง (OR=2.03; 95%Cl 1.03-4.03, p=0.04) ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (OR=2.40; 95%Cl 1.02-5.67,p=0.04) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับจากไม่ดีเป็นดี ได้แก่ อายุมากกว่า 70 ปี (OR=2.50; 95%Cl 1.32-4.72, p<0.01) และการออกกำลังกาย (OR=3.04; 95%Cl 1.27-7.29, p=0.01)สรุป: ปัจจัยที่ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีคือ ภาวะน้ำหนักเกิน การปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 1 ครั้ง และการมีโรคประจำตัวเป็นโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับดีคือ อายุที่มากขึ้น การมีรายได้ต่อเดือนที่สูงและการออกกำลังกาย บุคลากรทางสาธารณสุขควรส่งเสริมปัจจัยที่ทำให้คุณภาพการนอนหลับดี และแก้ไขรักษาหรือกำจัดปัจจัยที่ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีที่สุดคำสำคัญ: คุณภาพของการนอนหลับ, นอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, นครสวรรค์
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ