![]() |
ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วันดี แย้มจันทร์ฉาย |
Title | ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล |
Contributor | ศุภานัน ทองทวีโภคิน, ลมัย นิรมิตรถวิล |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 292-297 |
Keyword | ภาวะสมองขาดเลือด, ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, ผู้ดูแล |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล วิธีการศึกษา: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนของการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โดยทำการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2) พัฒนารูปแบบการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมในการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โดยนำข้อมูลจากระยะที่ 1 และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ ระยะที่ 3 และ4) ทดลองใช้รูปแบบฯและการประเมินผล โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น และประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้ความรู้ฯ โดยใช้แบบประเมินความรู้ฯ วัดก่อนและหลังการได้รับรูปแบบการให้ความรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและ ผู้ดูแล จำนวน 30 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ ดำเนินระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึงมิถุนายน 2567ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 ปัญหาและความต้องการของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล พบว่า ผู้ป่วยไม่ทราบอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด ปัญหาความต้องการของผู้ดูแล พบว่า การสังเกตอาการของภาวะสมองขาดเลือด ระยะที่ 2 รูปแบบการให้ความรู้ฯ มี 4 องค์ประกอบคือการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองและดูแล การสะท้อนความคิด และการสรุปความคิดรวบยอด ระยะที่ 3 และ4 การทดลองใช้และการประเมินผล พบว่า ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ภายหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้ฯผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ฯเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 สรุป: รูปแบบการให้ความรู้ฯ เป็นรูปแบบที่ใช้การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเองคำสำคัญ: ภาวะสมองขาดเลือด, ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, ผู้ดูแล |