![]() |
ความชุกและลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคท ในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิต โรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กิติศักดิ์ สีดานุช |
Title | ความชุกและลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคท ในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิต โรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 262-273 |
Keyword | ความดันโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูงไวท์โคท, การวัดความดันโลหิตที่บ้าน, ความชุก, ลักษณะทางคลินิก |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสังเกตเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาลดความดันโลหิตอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี ระหว่าง เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่วัดระดับความดันโลหิตด้วยเครื่องชนิดพกพาที่บ้านจำนวน 1,088 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิกจากเวชระเบียน นำเสนอความชุกด้วยร้อยละ วิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตที่สูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาลจำนวน 459 คน ระหว่างกลุ่มความดันโลหิตสูงไวท์โคท และกลุ่มความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value น้อยกว่า 0.05ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบความชุกคิดเป็นร้อยละ 15.8 จากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 37.5 ของผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตที่สูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.5) สูงอายุ (อายุเฉลี่ย 64.7 ปี) ลักษณะทางคลินิกที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การมีระดับความดันซิสโตลิกที่โรงพยาบาลสูงระดับ 1 และค่าไขมันเอชดีแอล ที่มากกว่า แต่มีค่าดัชนีมวลกาย การได้รับยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นๆ การพบแอลบูมินในปัสสาวะ และการมีหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้สรุป: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบได้มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตที่สูงเมื่อวัดที่โรงพยาบาล การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องชนิดพกพาที่บ้านสามารถช่วยในการวินิจฉัย ทำให้ลดการสั่งจ่ายยาลดความดันโลหิตโดยไม่จำเป็นลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา และยังเป็น การลดภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลอีกด้วยคำสำคัญ: ความดันโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูงไวท์โคท, การวัดความดันโลหิตที่บ้าน, ความชุก, ลักษณะทางคลินิก |