![]() |
แนวทางการให้ผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชิดชม กุลโนนแดง |
Title | แนวทางการให้ผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน |
Contributor | พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล |
Publisher | สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 132-146 |
Keyword | การเตรียมความพร้อม, การพัฒนาพฤตินิสัย, สังคมยั่งยืน |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj |
ISSN | 2985-0037 |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ และนําเสนอแนวทางที่ครอบครัวและสังคมในการยอมรับผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวนทั้งสิ้น 50 คน ได้แก่ (1) เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ จํานวน 6 คน (2) เครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชน จํานวน 6 คน (3) องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน จํานวน 8 คน (4) ผู้พ้นโทษที่สมัครใจ จํานวน 10 คน (5) ผู้นําชุมชน จํานวน 10 คน และ (6) เพื่อน ผู้พ้นโทษ จํานวน 10 คน ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่มสนทนาแบบเจาะจงผลการวิจัย พบว่า (1) แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย ได้แก่ ราชทัณฑ์ฝึกอบรมผู้ต้องราชทัณฑ์ตามหลักสูตร กลุ่มเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้ความช่วยเหลือแนะนําแนวทางการดําเนินชีวิต และภาคเอกชนต้องให้การยอมรับและให้โอกาสผู้พ้นโทษที่มีใบรับรองผ่านการฝึกอบรมเข้าทํางาน (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ พบว่า มีปัจจัยที่สําคัญ ประกอบด้วย มาตรการในการติดตามผู้พ้นโทษของทางราชทัณฑ์ การบูรณาการร่วมของหน่วยงานภายนอกในการแก้ปัญหาของผู้พ้นโทษ ความต่อเนื่องในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้พ้นโทษของกลุ่มเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชน การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พ้นโทษของภาครัฐและเอกชน ครอบครัวที่อบอุ่นมีงานทํามีรายได้ ได้รับการยอมรับจากชุมชน และภาครัฐควรออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ (3) นําเสนอแนวทางที่ครอบครัวและสังคมในการยอมรับผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน ดังนี้ ครอบครัวและสังคมต้องให้กําลังใจไม่พูดตอกยํ้าและให้การสนับสนุนทุกด้าน การออกติดตามผู้พ้นโทษผู้นําต้องมีความจริงใจ มีการสนับสนุนทุนสําหรับประกอบอาชีพ ผู้พ้นโทษต้องปรับพฤติกรรมไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมายและช่วยเหลือชุมชน ต้องปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสร้างการรับรู้ และภาครัฐบาลควรปรับปรุงกฎหมายการล้างมลทิน |