![]() |
พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเนื้อแพะของผู้บริโภคในภาคใต้ของประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิไลวรรณ ประพฤติ |
Title | พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเนื้อแพะของผู้บริโภคในภาคใต้ของประเทศไทย |
Contributor | ธีรศักดิ์ จินดาบถ, ศรัณยู กาญจนสุวรรณ |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 18-26 |
Keyword | พฤติกรรมผู้บริโภค, ความตั้งใจซื้อ, เนื้อแพะ, ภาคใต้ของประเทศไทย |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/index |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 2773-9627 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคเนื้อแพะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภค และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเนื้อแพะของผู้บริโภคในภาคใต้ของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 1,000 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่บริโภคเนื้อแพะไม่ครบทุกมื้อ ร้อยละ 56.20 บริโภคในปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ร้อยละ 42.80 โดยซื้อเพื่อบริโภคในครอบครัว ร้อยละ 63 และใช้คุณภาพเป็นเกณฑ์หลักในการเลือกซื้อ ร้อยละ 34.90 แหล่งซื้อหลักคือตลาดในชุมชน ร้อยละ 55.10 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ศาสนา และรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) การรับรู้ประโยชน์และคุณค่าของเนื้อแพะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความใส่ใจสุขภาพ (r=0.492, p<0.01) และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติ (β=0.813) และความตั้งใจซื้อ (β=0.55) มากที่สุด ผู้บริโภคมีการรับรู้คุณค่าด้านคุณภาพในระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 3.41 แต่มีความคิดเห็นระดับเฉย ๆ ต่อคุณค่าด้านอารมณ์ ราคาและสังคม ด้านทัศนคติ พบว่า ผู้บริโภคเห็นด้วยว่าเนื้อแพะมีราคาแพงและไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตราย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าและทัศนคติที่ดีต่อเนื้อแพะ รวมถึงการยกระดับอุตสาหกรรมเนื้อแพะในภาคใต้ของประเทศไทย |