ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผักของเกษตรกร อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
รหัสดีโอไอ
Creator ปิยฉัตร จันทร์ใจ
Title ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผักของเกษตรกร อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
Contributor นารีรัตน์ สีระสาร, ธำรงเจต พัฒมุข
Publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Publication Year 2568
Journal Title วารสารเกษตรพระวรุณ
Journal Vol. 22
Journal No. 1
Page no. 11-17
Keyword การยอมรับ, เชื้อราไตรโคเดอร์มา, ควบคุมโรคพืช, การผลิตผัก
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/index
Website title วารสารเกษตรพระวรุณ
ISSN 2773-9627
Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผักของเกษตรกรอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน จากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีการผลิต 2566/2567 จำนวน 179 ราย โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 124 ราย และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนมาก อายุเฉลี่ย 54.05 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 38.70 มีประสบการณ์การผลิตผักเฉลี่ย 7.87 ปี เกษตรกรฝึกอบรม เฉลี่ย 2.51 ครั้ง โดยมีรายได้ทั้งหมดต่อปี เฉลี่ย 79,669.84 บาท มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 31,460.88 บาท มีรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 26,461.13 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 21,747.82 บาท ราคาผลผลิตเฉลี่ย 23.46 บาท จำนวนครั้งในการผลิตผักในปีการผลิต ปี 2566 เฉลี่ย 5.81 ครั้ง มีจำนวนแรงงานในการผลิตผักเฉลี่ย 2.31 คน มีพื้นที่ผลิตผักเฉลี่ย 1.31 ไร่ ใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 2.40 ครั้ง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Analysis) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson Correlation) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ จำนวนครั้งของการใส่ปุ๋ย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.090 ส่วนตัวแปรอื่นๆ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ราคาผลผลิตผัก จำนวนครั้งการผลิตผัก จำนวนแรงงานผลิตผัก รายได้จากการผลิตผัก พื้นที่การผลิตผัก จำนวนครั้งการใส่ปุ๋ย
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ