![]() |
ต้นแบบ Smart farming สมุนไพร สู่การขับเคลื่อนเมืองสมุนไพรอย่างยั่งยืนพื้นที่ จังหวัดมหาสารคาม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รภัสสา จันทาศรี |
Title | ต้นแบบ Smart farming สมุนไพร สู่การขับเคลื่อนเมืองสมุนไพรอย่างยั่งยืนพื้นที่ จังหวัดมหาสารคาม |
Contributor | ฉมามาศ จันทาศรี |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 120-127 |
Keyword | เกษตรอัจฉริยะ, เกษตรที่ดีและเหมาะสม, เกษตรอินทรีย์, ช่องทางการตลาด, สมุนไพร |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/index |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 1685-8379 |
Abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาต้นแบบการผลิตสมุนไพรในระบบ Smart farming และผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรในระดับจังหวัดตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง โดยมีความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ชุมชนและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม วิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การคัดเลือก Smart Farmer ต้นแบบ สมุนไพร 2) การถอดบทเรียนจาก Smart Farmer ต้นแบบสมุนไพร 3) จัด Zoning และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสมุนไพร 4)ถ่ายทอดนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต 5) ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามระบบ Smart Famer ให้กับกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร 6) พัฒนาช่องทางการตลาดตามระบบ Smart Farmer ผลการดำเนินงาน พบว่า สามารถคัดเลือก Smart Farmer ต้นแบบสมุนไพร ได้จำนวน 554 ราย แบ่งเป็น 6 กลุ่ม 5 อำเภอมีพื้นที่ปลูกสมุนไพรจำนวน 444 ไร่ ผลิตสมุนไพรหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ไพล มะระขี้นก ว่านชักมดลูก ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และตลาดประชารัฐ ทำการถอดบทเรียนจาก Smart Farmer ต้นแบบสมุนไพร คัดเลือกได้ จำนวน 6 กลุ่ม เน้นข้อมูลของความโดดเด่น (ด้านการบริหารจัดการสวนสมุนไพรให้ประสบความสำเร็จ รายได้ ผลผลิต) และการปฏิบัติในระบบเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ระบบเกษตรอินทรีย์และปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Smart Farmer ต้นแบบประสบความสำเร็จ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสมุนไพร ตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้เป็น 3 กลุ่ม สร้างนวัตกรรมระบบ Smart farming สมุนไพร ให้กับชุมชน จำนวน 3 ชุมชน นำองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามระบบ Smart Famer ให้กับกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรในจังหวัด โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 22 ครั้ง และพัฒนาช่องทางการตลาด ในลักษณะการทำ Contract farming กับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ บริษัทประยงค์บ้านไร่สมุนไพร และตลาดประชารัฐจังหวัดมหาสารคาม สามารถส่งเสริมการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีคุณภาพตามระบบ Smart framing และได้มาตรฐาน GAP และอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรผู้ผลิต วิสาหกิจชุมชน จากการสำรวจความพึงพอใจและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ พบว่า ด้านเนื้อหา มีค่ามากที่สุด รองลงมาเป็นด้านวิทยากร และด้านที่มีค่าต่ำสุด คือ ด้านความเข้าใจ |