การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในผักสมุนไพรที่จำหน่ายตามท้องตลาดในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
รหัสดีโอไอ
Creator สุภัทรา กลางประพันธ์
Title การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในผักสมุนไพรที่จำหน่ายตามท้องตลาดในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
Contributor มนฑิรา พาราณสี, ศรัณย์ ฉวีรักษ์
Publisher คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Publication Year 2565
Journal Title วารสารเกษตรพระวรุณ
Journal Vol. 19
Journal No. 2
Page no. 91-99
Keyword กระเทียม, ผักสมุนไพร, ชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค, สารเคมีฆ่าแมลงตกค้าง
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu
Website title วารสารเกษตรพระวรุณ
ISSN 1685-8379
Abstract ผักสมุนไพรแม้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่หากพบการตกค้างของสารเคมีฆ่าแมลงย่อมเกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตกค้างของสารเคมีฆ่าแมลงในผักสมุนไพรที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เก็บตัวอย่างผักสมุนไพรแบบเจาะจงในตลาดขายส่งผักในจังหวัดอุบลราชธานี ตามเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ 1) เป็นผักที่มีสรรพคุณทางยาและจำหน่ายในร้านค้าส่ง 2) มีส่วนที่ใช้ตรงกับสรรพคุณทางยา แล้วนำมาทดสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในตัวอย่างโดยใช้ชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค (MJPK test kit) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า ผักสมุนไพรที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์คัดเข้ามีจำนวนทั้งสิ้น 14 ชนิด จากแหล่งจำหน่ายร้านค้าส่งจำนวน 5 ร้าน พบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยมากจำนวน 5 ชนิด โดยพบการตกค้างมากที่สุดในกระเทียม (ร้อยละ 100) รองลงมาเป็น ผักชี (ร้อยละ 60) พริกขี้หนู (ร้อยละ 40) ผักบุ้งจีน (ร้อยละ 40) และหอมแดง (ร้อยละ 20) ตามลำดับ ส่วนผักสมุนไพรที่พบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 100 ได้แก่ พริกไทย ข่า โหระพา แมงลัก และช้าพลู จะเห็นได้ว่าผักสมุนไพรที่พบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักจะรับประทานสดจึงอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดสารพิษตกค้างในร่างกายได้ ดังนั้น จึงต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคผักสมุนไพรอย่างถูกต้องให้แก่ผู้บริโภคและมีมาตรการดูแลเกี่ยวกับการใช้สารเคมีฆ่าแมลงอย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ