![]() |
ห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จรีวรรณ จันทร์คง |
Title | ห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช |
Contributor | ณปภัช ช่วยชูหนู, ประพจน์ มลิวัลย์ |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 66-73 |
Keyword | ห่วงโซ่อุปทาน, ไก่พื้นเมือง, พ่อค้ารวบรวม, ผู้บริโภค |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/index |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 1685-8379 |
Abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสถานภาพการผลิต การตลาดและห่วงโซ่อุปทานของไก่พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน 400 ราย พ่อค้ารวบรวม จำนวน 20 ราย พ่อค้าส่ง จำนวน 20 ราย พ่อค้าปลีก จำนวน 30 ราย และผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 30 ราย รวมทั้งผู้บริโภค จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองรูปแบบปล่อยลาน และกึ่งขังกึ่งปล่อย สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ประกอบด้วย ไก่แดง ไก่คอล่อน ไก่ศรีวิชัย ไก่ชี และไก่เบตง ระยะเวลาเลี้ยงเฉลี่ยประมาณ 16 สัปดาห์ต่อรอบการผลิต น้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม/ตัว ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไก่พื้นเมือง พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช นิยมจำหน่ายในรูปแบบไก่มีชีวิต มีราคาขายเฉลี่ย 70 - 80 บาทต่อกิโลกรัม รวมทั้งเกษตรกรนิยมจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่นมากที่สุด ส่วนโครงสร้างตลาดไก่พื้นเมือง เป็นลักษณะตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly market) ที่มีสินค้าเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ส่วนอำนาจการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับพ่อค้ารวบรวมและพ่อค้าขายส่ง ด้านการศึกษาห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แสดงให้เห็นว่าห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ซึ่งมีทั้งดำเนินการแบบเกษตรกรรายย่อย และกลุ่มเครือข่าย พ่อค้ารวบรวมไก่มีชีวิต พ่อค้าขายส่ง/ขายปลีกไก่ชำแหละ ซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน ร้านค้าหรือผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้บริโภคคนสุดท้าย การศึกษาห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมืองครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชนให้กับเกษตรกรต่อไป |